ททท. ผนึกกำลัง SCGP รับมอบกล่อง PaperX ภายใต้กิจกรรม CSR in-process “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้ แยกไว้รีไซเคิล” อีกขั้นของการพลิกโฉมสู่องค์กรสมรรถนะสูง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รับมอบกล่อง PaperX จาก บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ภายใต้กิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้ แยกไว้รีไซเคิล” โดยมีนางสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นผู้แทนรับมอบ และนายเอกชัย อนุจร Director Recycling Business ผู้แทนจากบริษัท SCGP เป็นผู้ส่งมอบ เพื่อให้บุคลากรเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรและร่วมกันขับเคลื่อนสู่องค์กรสมรรถนะสูง รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ณ บริเวณห้องโถงธนะรัชต์ อาคาร ททท.
นางสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. กล่าวถึงกิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้ แยกไว้รีไซเคิล” ว่า ททท. ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) ผ่านโครงการ “เที่ยวไทยเท่ ไม่สร้างขยะ ลดโลกเลอะ” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว โดย ททท. ได้รณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้นักท่องเที่ยวร่วมกันรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างขยะในแหล่งท่องเที่ยว โดยจัดทำปฏิญญา “เที่ยวไทยเท่ไม่สร้างขยะ ลดโลกเลอะ” ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย วิสาหกิจชุมชนต่างๆ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นต้น เพื่อร่วมกันลดการใช้พลาสติกควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคประชาชน เน้นสื่อสารหัวใจหลัก “ลดโลกเลอะ เริ่มที่ตัวเรา” ในปี พ.ศ. 2562-2563 ที่ผ่านมา ททท. ได้ร่วมงานกับ เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร ศิลปินที่มีชื่อเสียงและมีกลุ่มแฟนคลับที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีการทำกิจกรรมจิตอาสาในรูปแบบต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังวางแผนการสื่อสารและการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นภายในองค์กร โดยกำหนดตัวชี้วัดในการลดใช้ทรัพยากรกระดาษและสร้างสรรค์นวัตกรรมมาประกอบกัน อาทิ การส่งเอกสารระหว่างกันทางระบบ e-office การใช้ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารประชุม การใช้การสแกน QR code ส่งข้อมูลแก่สื่อมวลชน การจัดทำข้อมูลในรูปแบบ e-booke- Brochures จัดตั้งกล่องรีไซเคิล เป็นต้น ทั้งยังมีการลดการใช้ทรัพยากรอื่นๆ อาทิ ไฟฟ้า น้ำประปา ควบคู่ไปด้วยทั้งนี้ ตามแผนวิสาหกิจของ ททท. พ.ศ. 2566-2570 ททท. วางกรอบการดำเนินงานขององค์กร ทั้งในด้านการตลาดการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการองค์กร สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Economy Model ของรัฐบาล โดย ททท. จะเดินหน้าในฐานะ Strategic Leader “ผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่าและมุ่งสู่ความยั่งยืน” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม และหนึ่งในวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic Objective) ได้แก่ SO3 Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CRS in-process) อันจะนำไปสู่ Smart Tourism มุ่งสร้างความยั่นยืน (Sustainability) ในทุกมิติแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กรสมรรถนะสูงและส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนอีกขั้นหนึ่ง ททท. จึงได้ร่วมกับบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในการจัดการวัสดุเพื่อรีไซเคิล กำหนดจัดกิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้แยกไว้รีไซเคิล” และรับมอบกล่อง PaperX สำหรับการคัดแยกกระดาษ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 โดยมีนางสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นผู้แทนรับมอบ และ นายเอกชัย อนุจร Director Recycling Business ผู้แทนจากบริษัท SCGP เป็นผู้ส่งมอบ ซึ่ง ททท. ได้รณรงค์ให้บุคลากรร่วมกันคัดแยกกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งแยกลวดเย็บกระดาษ คลิปโลหะหนีบกระดาษ สันกระดูกงู แฟ้มพลาสติก แยกลงกล่อง PaperX ที่จะจัดวางอยู่ทุกชั้น ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ในองค์กร ถือเป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ทรัพยากรแก่บุคลากรในองค์กร โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์และนำร่องการปฏิบัติตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของ ททท. เป็นอย่างดี มีปริมาณกระดาษสะสมที่แยกลงกล่องรีไซเคิลที่จัดวางไว้บริเวณชั้น 2, 5 และ 14 และกระดาษที่แยกไว้จากชั้นอื่นๆ ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2565 - 29 เมษายน 2565 รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 กิโลกรัม เท่ากับการลดการตัดตันไม้ 9 ต้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 340 กิโลกรัม ลดการใช้น้ำ 13,000 ลิตร ลดการใช้เชื้อเพลิง 700 ลิตร และลดการใช้พลังงาน 2,000 กิโลวัตต์ ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายว่าการจัดกิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้ แยกไว้รีไซเคิล”นี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้บุคลากรภายในองค์กรตระหนักถึงคุณค่ามากขึ้นและใช้ทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และถือเป็นกิจกรรม CSRเชิงการตลาดภายในองค์กรที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งต้นทุนที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ต่อยอดสู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( Sustainable Tourism) ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
ในการนี้ เพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กรสมรรถนะสูงและส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนอีกขั้นหนึ่ง ททท. จึงได้ร่วมกับบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในการจัดการวัสดุเพื่อรีไซเคิล กำหนดจัดกิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้แยกไว้รีไซเคิล” และรับมอบกล่อง PaperX สำหรับการคัดแยกกระดาษ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 โดยมีนางสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร ททท. เป็นผู้แทนรับมอบ และ นายเอกชัย อนุจร Director Recycling Business ผู้แทนจากบริษัท SCGP เป็นผู้ส่งมอบ ซึ่ง ททท. ได้รณรงค์ให้บุคลากรร่วมกันคัดแยกกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งแยกลวดเย็บกระดาษ คลิปโลหะหนีบกระดาษ สันกระดูกงู แฟ้มพลาสติก แยกลงกล่อง PaperX ที่จะจัดวางอยู่ทุกชั้น ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ในองค์กร ถือเป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ทรัพยากรแก่บุคลากรในองค์กร โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์และนำร่องการปฏิบัติตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรของ ททท. เป็นอย่างดี มีปริมาณกระดาษสะสมที่แยกลงกล่องรีไซเคิลที่จัดวางไว้บริเวณชั้น 2, 5 และ 14 และกระดาษที่แยกไว้จากชั้นอื่นๆ ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2565 - 29 เมษายน 2565 รวมจำนวนทั้งสิ้น 500 กิโลกรัม เท่ากับการลดการตัดตันไม้ 9 ต้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 340 กิโลกรัม ลดการใช้น้ำ 13,000 ลิตร ลดการใช้เชื้อเพลิง 700 ลิตร และลดการใช้พลังงาน 2,000 กิโลวัตต์ ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายว่าการจัดกิจกรรม “ลด โลก เลอะ กระดาษไม่ใช้ แยกไว้รีไซเคิล”นี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้บุคลากรภายในองค์กรตระหนักถึงคุณค่ามากขึ้นและใช้ทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และถือเป็นกิจกรรม CSRเชิงการตลาดภายในองค์กรที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งต้นทุนที่สำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ต่อยอดสู่การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( Sustainable Tourism) ต่อไปในอนาคตอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น