เล็งขยายผลความสำเร็จการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นโมเดลพัฒนาชุมชนทั่วประเทศ
“รมว. พิพัฒน์” ลงพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เก็บข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อสวก หวังใช้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลวางแผนขยายผลไปยังชุมชนท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วประเทศ เล็งกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ รับผลกระทบ โควิด-19 สนับสนุนคนออกเดินทางท่องเที่ยวชุมชน ทางด้าน อพท. โชว์ผลงานความสำเร็จจากการใช้องค์ความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก ต่อยอดด้วยการพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์และวิถีชีวิตชุมชน สร้างเศรษฐกิจชุมชน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การลงพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อดูบทเรียนความสำเร็จของ อพท. ที่ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อสวก ทำให้ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน สามารถใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการรื้อฟื้นและส่งเสริมความเข้มแข็งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน
นอกจากนั้นการลงพื้นที่ชุมชน ยังได้รับฟังปัญหาและความต้องการในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยจะมีการพูดคุยหารือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคเอกชนถึงแนวทางการขยายผลการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปยังชุมชนท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วประเทศ และสุดท้ายของการพัฒนาคือการหาตลาด โดยหาแนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
ซึ่งในสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 กระทรวงการท่องเที่ยวจะเร่งออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และกระตุ้นให้คนเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรองและท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งได้รับการพัฒนามีมาตรฐานอย่างเช่นชุมชนบ่อสวกแห่งนี้ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ได้เรียรู้วิถีชิวติและอัตลักษณ์ท้องถิ่น พร้อมกันนี้ยังต้องการให้ทุกชุมชนทั่วประเทศสืบสานวิถีชีวิต และอัตลัษณ์ของตัวเองไว้ เพราะเป็นเสน่ห์สำคัญที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน
ทางด้านนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ชุมชนบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน เป็น 1 ใน 14 ชุมชนต้นแบบจาก 6 พื้นที่พิเศษ ที่ อพท. รับผิดชอบดูแล โดย อพท. ได้นำองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เข้ามาพัฒนาเพื่อยกระดับให้กับชุมชนบ้านบ่อสวกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 พร้อมกับให้จัดตั้งชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อสวก เพื่อรวมกลุ่มในการบริหารจัดการ
จากผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้แก่ชุมชนตำบลบ่อสวก จังหวัดน่าน พบว่าในปีงบประมาณ 2562 ชุมชนแห่งนี้มรายได้เฉลี่ยรวมอยู่ที่ 78,962 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 จากปีงบประมาณ 2561 ซึ่งชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ 75,954 บาท/ครัวเรือน สะท้อนถึงแนวโน้มความสำเร็จของการใช้หลักการการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน
จากผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้แก่ชุมชนตำบลบ่อสวก จังหวัดน่าน พบว่าในปีงบประมาณ 2562 ชุมชนแห่งนี้มรายได้เฉลี่ยรวมอยู่ที่ 78,962 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 จากปีงบประมาณ 2561 ซึ่งชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ 75,954 บาท/ครัวเรือน สะท้อนถึงแนวโน้มความสำเร็จของการใช้หลักการการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน
“การเพิ่มขึ้นของรายได้เสริมของชุมชนแห่งนี้ส่วนหนึ่งมาจากการส่งเสริมจังหวัดน่านเป็น 1 ใน 12 เมืองที่ต้องห้ามพลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี 2561 ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในการพัฒนาชุมชนแห่งนี้ของ อพท. ได้ชูจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีอัตลักษณ์ของชุมชนและการเรียนรู้การดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นซึ่งกำลังได้รับความนิยม โดยบ้านบ่อสวก มีจุดเด่นของการท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ เป็นแหล่งโบราณคดี ศิลปะพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้วิถีชุมชนผ่านงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีต่าง ๆ เช่น การทำเครื่องปั้นดินเผาการทอผ้าลายปากไหโบราณ การจักสานไม้ไผ่ การแปรรูปน้ำอ้อย การแสดงดนตรีพื้นเมืองและการฟ้อนรำ การทำนาและการทำอาหารพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อยู่ในความสนใจของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน”
นอกจากนั้น อพท. ยังมีชุมชนที่ผ่านการพัฒนาตามองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอีกจำนวน 100 ชุมชน ทั่วประเทศกระจายอยู่ใน 9 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และ อพท. ยังคงมีแผนใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ มุ่งพัฒนาให้แก่ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น