อพท. เร่งเครื่องยกระดับ “เชียงคาน” สู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาตรฐานโลก
นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท. 5) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์แห่งความเป็นเลิสด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ศทย.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ได้หารือกับเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย เตรียมยกระดับ “เชียงคาน” ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดความยั่งยืนตามมาตรฐานระดับสากล โดย อพท. จะนำเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของสภาการท่องเทียวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Council Criteria (GSTC) ซึ่ง อพท. เป็นภาคีเครือข่าย มาเป็นกรอบในการสร้างองค์ความรู้ ต่อยอด ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของอำเภอเชียงคาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวให้สามารถนำไปบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป้าหมายเพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่คนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
“อพท. ได้หารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเชียงคาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน GSTC โดยประชาชนในชุมชนต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบาย Co-Creation คือร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ เป้าหมายของ อพท. คือจะนำเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกมาประยุกต์ใช้อย่างเต็มรูปแบบในการพัฒนาอำเภอเชียงคานเพื่อเป็นพื้นที่นำร่อง และวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ให้เชียงคานสามารถก้าวขึ้นสู่รางวัล Top 100 Green Destinations ของงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ITB กรุงเบอลิน”
“อพท. ได้หารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเชียงคาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน GSTC โดยประชาชนในชุมชนต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบาย Co-Creation คือร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ เป้าหมายของ อพท. คือจะนำเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกมาประยุกต์ใช้อย่างเต็มรูปแบบในการพัฒนาอำเภอเชียงคานเพื่อเป็นพื้นที่นำร่อง และวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ให้เชียงคานสามารถก้าวขึ้นสู่รางวัล Top 100 Green Destinations ของงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ITB กรุงเบอลิน”
อย่างไรก็ตาม อพท. ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพบนฐานความยั่งยืนที่ช่วยเพิ่มและลดผลกระทบอันเกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางในการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้เชียงคานเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ หรือผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยว เช่น ผู้ที่เดินทางด้วยรถเข็นหรือ วีลแชร์ นักท่องเที่ยวเหล่านี้จะนำโอกาสใหม่ๆ มาให้กับอำเภอเชียงคาน รวมทั้งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของนักท่องเที่ยวในอนาคต จากเดิมที่เดสติเนชั่นแห่งนี้นักท่องเที่ยวหลักจะเป็นตลาดของคนหนุ่มสาวและวัยทำงานซึ่งในเชิงพื้นที่จะได้เรื่องของปริมาณหรือจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวจะช่วยเพิ่มรายได้จากการจับจ่าย ช่วยกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนมากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีกำลังในการซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง นอกจากนั้นในเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกยังให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆให้กับนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
ทางด้านนายจักรพันธ์ สายจันทน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลเชียงคาน กล่าวว่า ยินดีที่จะให้การสนับสนุนการทำงานร่วมกับ อพท. เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอเชียงคาน ซึ่งโครงการสร้างการทำงานจะขับเคลื่อนผ่านภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่ ภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่
สำหรับเป้าหมายระยะยาวของการพัฒนาครั้งนี้เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีระบบการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน โดยชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวสามารถกระจายสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ร่วมกับ อพท. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น