เจาะ 3 เทรนด์ฟินเทคในชีวิตวิถีใหม่เทคโนโลยีการเงินต้องสะดวกปลอดภัย ช่วยเหลือทันท่วงที และอาศัยข้อมูลเชิงลึก
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การใช้งานเทคโนโลยีทางการเงินเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยเฉพาะสำหรับกลุ่ม Underserved ซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กลุ่มธุรกิจด้านการเงินของ แกร็บ ที่ตอบสนองทุกความต้องการในทุกวันของผู้บริโภค เชื่อว่าเทคโนโลยีด้านการเงินจะมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคม โดยมี 3 เทรนด์ในชีวิตวิถีใหม่ที่น่าจับตา ได้แก่ การเติบโตของสังคมไร้เงินสด การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างทันท่วงที และการใช้ข้อมูลเชิงลึกในการออกแบบผลิตภัณฑ์
1. ความใส่ใจสุขภาพเร่งการเติบโตของสังคมไร้เงินสด
การเปิดให้บริการพร้อมเพย์ และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การชำระเงินแบบไร้เงินสดเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการทำธุรกรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมีการเติบโตสูงถึง 69%* เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
1. ความใส่ใจสุขภาพเร่งการเติบโตของสังคมไร้เงินสด
การเปิดให้บริการพร้อมเพย์ และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การชำระเงินแบบไร้เงินสดเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยยอดการทำธุรกรรมออนไลน์ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมีการเติบโตสูงถึง 69%* เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “สถานการณ์โรคระบาดทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินสด โดยความกังวลด้านสุขภาพจากจะเป็นอีกปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของ Cashless Society และการทำธุรกรรมบนมือถือจะมีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในพื้นที่ต่างจังหวัด หลังจากผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในวงกว้าง”
“บนแพลตฟอร์มของแกร็บ เราพบว่าระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน ธุรกรรมผ่าน GrabPay Wallet เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว ส่งผลให้สัดส่วนธุรกรรมแบบไร้เงินสด (รวมทั้งวอลเล็ต บัตรเครดิตและบัตรเดบิต) เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 50% ของธุรกรรมทั้งหมดบนแพลตฟอร์มแกร็บ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่โดดเด่นหลังจากเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2562”
2. การปรับแผนทางธุรกิจเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างทันท่วงที
การหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้ทุกองค์กรต้องปรับแผนธุรกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างทันท่วงที โดยโจทย์สำคัญก็คือ การให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างถูกตัวและตรงคน ด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ
นายวรฉัตร กล่าวว่า “เราพบว่ารายได้เฉลี่ยของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ โดยเฉพาะกลุ่มที่ให้บริการเดินทาง ได้รับผลกระทบทันทีจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ได้ออกมาตรการพักชำระหนี้แก่พาร์ทเนอร์กลุ่มนี้ทันที พร้อมทั้งขยายความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อผลกระทบขยายวงกว้างขึ้น โดยรูปแบบของมาตรการช่วยเหลือ คือ การเว้นชำระค่างวด และการหยุดพักชำระหนี้ 1-3 เดือน หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายนที่เริ่มมีการคลายมาตรการล็อคดาวน์ เราเห็นปริมาณการใช้งานแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น และรายได้เฉลี่ยของคนขับบางส่วนกลับมาฟื้นตัว เราจึงทยอยปลดล็อคการพักชำระหนี้ ควบคู่กับการเตรียมแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับกลุ่มที่ยังคงได้รับผลกระทบต่อไป”
3. ข้อมูลเชิงลึกช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องปรับแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรายวัน ข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละเซ็กเมนต์ โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ฉลาดและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพ
“ข้อมูลเชิงลึกบนแพลตฟอร์มของแกร็บทำให้เรามีความเข้าใจพาร์ทเนอร์เป็นอย่างดี รวมถึงเล็งเห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ในสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว เราจึงต้องปรับรูปแบบการผ่อนชำระให้พาร์ทเนอร์คนขับสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ เราพบว่าโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล และรูปแบบการผ่อนชำระ ที่เราใช้กับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อพาร์ทเนอร์คนขับอยู่ในปัจจุบันสามารถนำมาปรับใช้กับพาร์ทเนอร์ร้านอาหารได้เช่นกัน” นายวรฉัตร กล่าว
“วิกฤตโควิด-19 ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีและบริการทางการเงินที่เข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ในครึ่งปีหลัง แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าพัฒนาฟินเทคโซลูชันครบวงจร ทั้งด้านการชำระเงิน สินเชื่อ และประกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย 100,000 ครัวเรือนต่อไป” นายวรฉัตร กล่าวสรุป
*ที่มา: Bi-monthly Payment Insight เดือนเมษายน 2563 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
“บนแพลตฟอร์มของแกร็บ เราพบว่าระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน ธุรกรรมผ่าน GrabPay Wallet เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว ส่งผลให้สัดส่วนธุรกรรมแบบไร้เงินสด (รวมทั้งวอลเล็ต บัตรเครดิตและบัตรเดบิต) เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 50% ของธุรกรรมทั้งหมดบนแพลตฟอร์มแกร็บ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่โดดเด่นหลังจากเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2562”
2. การปรับแผนทางธุรกิจเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างทันท่วงที
การหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้ทุกองค์กรต้องปรับแผนธุรกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างทันท่วงที โดยโจทย์สำคัญก็คือ การให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างถูกตัวและตรงคน ด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ
นายวรฉัตร กล่าวว่า “เราพบว่ารายได้เฉลี่ยของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ โดยเฉพาะกลุ่มที่ให้บริการเดินทาง ได้รับผลกระทบทันทีจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ได้ออกมาตรการพักชำระหนี้แก่พาร์ทเนอร์กลุ่มนี้ทันที พร้อมทั้งขยายความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อผลกระทบขยายวงกว้างขึ้น โดยรูปแบบของมาตรการช่วยเหลือ คือ การเว้นชำระค่างวด และการหยุดพักชำระหนี้ 1-3 เดือน หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายนที่เริ่มมีการคลายมาตรการล็อคดาวน์ เราเห็นปริมาณการใช้งานแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น และรายได้เฉลี่ยของคนขับบางส่วนกลับมาฟื้นตัว เราจึงทยอยปลดล็อคการพักชำระหนี้ ควบคู่กับการเตรียมแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับกลุ่มที่ยังคงได้รับผลกระทบต่อไป”
3. ข้อมูลเชิงลึกช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องปรับแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรายวัน ข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละเซ็กเมนต์ โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ฉลาดและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพ
“ข้อมูลเชิงลึกบนแพลตฟอร์มของแกร็บทำให้เรามีความเข้าใจพาร์ทเนอร์เป็นอย่างดี รวมถึงเล็งเห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ในสถานการณ์ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว เราจึงต้องปรับรูปแบบการผ่อนชำระให้พาร์ทเนอร์คนขับสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ เราพบว่าโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล และรูปแบบการผ่อนชำระ ที่เราใช้กับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อพาร์ทเนอร์คนขับอยู่ในปัจจุบันสามารถนำมาปรับใช้กับพาร์ทเนอร์ร้านอาหารได้เช่นกัน” นายวรฉัตร กล่าว
“วิกฤตโควิด-19 ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีและบริการทางการเงินที่เข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ในครึ่งปีหลัง แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าพัฒนาฟินเทคโซลูชันครบวงจร ทั้งด้านการชำระเงิน สินเชื่อ และประกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย 100,000 ครัวเรือนต่อไป” นายวรฉัตร กล่าวสรุป
*ที่มา: Bi-monthly Payment Insight เดือนเมษายน 2563 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น