‘พิพัฒน์’ ปลื้ม อพท. ดันเชียงราย-เพชรบุรี ฝ่าด่านแรกสำเร็จลุ้น ‘ตุลาคม’ ขึ้นแท่นเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก
อพท. ดันเชียงราย เพชรบุรีฝ่าด่านแรกฉลุย เดินหน้าเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกปีนี้ ‘พิพัฒน์’ มองข้ามช็อต มอบ อพท. ทำโรดแมประยะ 5 ปี พัฒนาเชียงราย-เพชรบุรี รองรับการขึ้นแท่นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก ชูจุดเด่น “เชียงราย” เมืองแห่งการออกแบบ “เพชรบุรี” เมืองแห่งอาหาร พร้อมไปต่อลุยปั้นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ยกมาตรฐานสู่เกณฑ์เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์
นอกจากนั้น อพท. ยังได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำร่างใบสมัคร และช่วยพัฒนาใบสมัครให้แก่ทั้ง 2 เมือง เพื่อนำส่งให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกประเทศไทย พิจารณาและคัดเลือก
***มุ่งพัฒนาพื้นที่ อพท. สู่เมืองสร้างสรรค์***
อย่างไรก็ตาม นอกจากการทำงานด้านการพัฒนาเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิตของชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติแล้ว อพท.ยังเตรียมขยายเครือข่ายการพัฒนาเมืองเพื่อเข้าสู่มาตรฐานเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดน่าน และอีกหลายพื้นที่ เพื่อผลักดันให้เกิดการรับรู้ศักยภาพของประเทศไทยในระดับโลก ซึ่งปัจจุบันยูเนสโก มีสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ จำนวน 246 เมือง จาก 84 ประเทศ สำหรับประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แล้ว 4 เมือง ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต (2558) จังหวัดเชียงใหม่ (2560) จังหวัดสุโขทัย และกรุงเทพมหานคร (2562)
- นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
จากความสำเร็จในปี 2562 ที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สามารถผลักดันจังหวัดสุโขทัยจนได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก มาวันนี้ 2 จังหวัด ที่ อพท. เข้าไปพัฒนาและผลักดัน คือ จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดเพชรบุรี ยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าชิงสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ยูเนสโก ประจำปี 2564 ซึ่งจะประกาศผลในปลายเดือนตุลาคม 64นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเพชรบุรี อยู่ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และเป็นพื้นที่เตรียมประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ ซึ่ง อพท. ได้นำองค์ความรู้ที่มีไปพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนในพื้นที่ ทำให้ อพท. ได้เห็นถึงศักยภาพและอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของทุนทางวัฒนธรรมของทั้ง 2 จังหวัด ที่จะสามารถต่อยอดผ่านแนวทางการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ระดับโลกของยูเนสโกได้ จึงเริ่มดำเนินการสำรวจตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ด้วยการลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน สนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เพื่อทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ
ทั้งนี้ อพท. ยังได้ดำเนินการศึกษาศักยภาพของทั้ง 2 จังหวัดค้นหาจุดแข็งที่โดดเด่น จนได้ข้อสรุปเสนอให้จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดเพชรบุรี เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (City of Gastronomy) รวมทั้งไปประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และล่าสุดทั้ง 2 จังหวัดได้รับเลือกจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกประเทศไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network-UCCN) ประจำปี พ.ศ. 2564
นอกจากนั้น อพท. ยังได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้จัดทำแผนขับเคลื่อน หรือ Roadmap ของเมืองเชียงราย และเพชรบุรี ระยะ 5 ปี โดยให้สอดคล้องกับการสนับสนุนการพัฒนาเมืองของทั้ง 2 จังหวัด และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก เพื่อใช้โอกาสนี้พัฒนาชุมชนและเมืองให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนในพื้นที่ โดยใช้กลไกลการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
***วางโรดแมป 5 ปีพัฒนาต่อเนื่อง***
ทั้งนี้ โรดแมป 5 ปี ตามที่ อพท.วางกรอบไว้นั้น ส่วนของจังหวัดเชียงรายจะต้องจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนการผลักดันให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ (City of Design) เนื่องจากเชียงราย มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมา ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ส่วนจังหวัดเพชรบุรี อพท. จะจัดทำโรดแมปเพื่อขับเคลื่อนเมืองโดยจะต่อยอดจากผลการศึกษาเดิมที่มีอยู่ ซึ่งพบว่า เพชรบุรี เป็นเมือง 3 รส และเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศใน 3 อย่างคือ การผลิตเกลือ การปลูกและผลิตน้ำตาลจากตาลโตนด และเป็นแหล่งปลูกมะนาวที่รสชาติที่ดี่สุด นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งวัตถุดิบการทำอาหารที่จะมีความเชื่อมโยงกับภาคชุมชนและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายทั้งอาหารคาว หวาน เช่น แกงหัวตาล ตาลโตนด ยำหัวโตนด ต้มสีนวล (ต้มข่าไก่) แกงไก่บ้านหน่อไม้ดอง ขนมโตนดสุก ขนมหม้อแกง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความโดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต
***ร่วมภาคีทำงานเชิงรุก ***
อพท. ใช้กลไกการทำงานโดยการดึงชุมชนที่มีศักยภาพสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่าย ให้เห็นถึงความสำคัญของประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของเมืองในครั้งนี้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งด้านพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์และเส้นทางการท่องเที่ยว การบริการให้มีมาตรฐาน การพัฒนานักสื่อความหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่นำเอาอัตลักษณ์ประจำถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ในท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ โรดแมป 5 ปี ตามที่ อพท.วางกรอบไว้นั้น ส่วนของจังหวัดเชียงรายจะต้องจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติตามแผนการผลักดันให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งการออกแบบ (City of Design) เนื่องจากเชียงราย มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีศิลปินล้านนาจำนวนมาก มีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สืบทอดกันมา ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมทางท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ส่วนจังหวัดเพชรบุรี อพท. จะจัดทำโรดแมปเพื่อขับเคลื่อนเมืองโดยจะต่อยอดจากผลการศึกษาเดิมที่มีอยู่ ซึ่งพบว่า เพชรบุรี เป็นเมือง 3 รส และเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศใน 3 อย่างคือ การผลิตเกลือ การปลูกและผลิตน้ำตาลจากตาลโตนด และเป็นแหล่งปลูกมะนาวที่รสชาติที่ดี่สุด นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งวัตถุดิบการทำอาหารที่จะมีความเชื่อมโยงกับภาคชุมชนและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายทั้งอาหารคาว หวาน เช่น แกงหัวตาล ตาลโตนด ยำหัวโตนด ต้มสีนวล (ต้มข่าไก่) แกงไก่บ้านหน่อไม้ดอง ขนมโตนดสุก ขนมหม้อแกง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความโดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต
***ร่วมภาคีทำงานเชิงรุก ***
อพท. ใช้กลไกการทำงานโดยการดึงชุมชนที่มีศักยภาพสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่าย ให้เห็นถึงความสำคัญของประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของเมืองในครั้งนี้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งด้านพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์และเส้นทางการท่องเที่ยว การบริการให้มีมาตรฐาน การพัฒนานักสื่อความหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่นำเอาอัตลักษณ์ประจำถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่สามารถเชื่อมโยงกับชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ในท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้น อพท. ยังได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำร่างใบสมัคร และช่วยพัฒนาใบสมัครให้แก่ทั้ง 2 เมือง เพื่อนำส่งให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโกประเทศไทย พิจารณาและคัดเลือก
***มุ่งพัฒนาพื้นที่ อพท. สู่เมืองสร้างสรรค์***
อย่างไรก็ตาม นอกจากการทำงานด้านการพัฒนาเพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิตของชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติแล้ว อพท.ยังเตรียมขยายเครือข่ายการพัฒนาเมืองเพื่อเข้าสู่มาตรฐานเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดน่าน และอีกหลายพื้นที่ เพื่อผลักดันให้เกิดการรับรู้ศักยภาพของประเทศไทยในระดับโลก ซึ่งปัจจุบันยูเนสโก มีสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ จำนวน 246 เมือง จาก 84 ประเทศ สำหรับประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์แล้ว 4 เมือง ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต (2558) จังหวัดเชียงใหม่ (2560) จังหวัดสุโขทัย และกรุงเทพมหานคร (2562)
ไม่มีความคิดเห็น