งานมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ ๒ Thailand Biennale, Korat 2021โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
เมื่อวันจันทร์ที่๒๒พฤศจิกายนที่ผ่านมาลุงหนวดได้มีโอกาสเดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมาเพื่อร่วมในงานแถลงข่าวโครงการแสดงศิลปะนานาชาติครั้งที่ ๒ “Thailand Biennale, Korat 2021” จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Butterflies Frolicking on the mud” ใช้ชื่อภาษาไทย “เซิ้ง...สิน ถิ่นย่าโม” ซึ่งงานแถลงข่าวในครั้งนี้จัดขึ้นบริเวณ Art Gallery and Exhibition ริมคูน้ำในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา
โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเดินทางมาเป็นประธานในงานแถลงข่าวร่วมด้วยนายชูศักดิ์ ชุมเกาะรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นางภาวนา ประจิตต์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครราชสีมา นายธนชน เคนสิงห์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์นครราชสีมา ผู้แทนจากกระทรวงวัฒนธรรม ตลอดนผู้ประกอบการโรงแรมรีสอรท์ที่พักและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาเดินทางมาร่วมแถลงข่าวถึงความพร้อมกับการจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔เรียกได้ว่าเป็นการจัดงาน การแสดงศิลปะที่ยิ่งใหญ่ภายใต้แนวคิด "Butterflies Frolicking on the mud" หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "เชิ้ง.....สิน ถิ่นย่าโม"
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการแสดงศักยภาพของวงการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของประเทศไทยที่ก้าวสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งงานศิลปะร่วมสมัยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่สามารถสร้างความสนใจในการเผยแพร่วัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้ และสร้างจินตนาการ และประเด็นสำคัญคือการสร้างอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจในชาติ รวมถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการจัดงานครั้งนี้รัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดการกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะร่วมสมัยเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมในพื้นที่ สร้างงานสร้างอาชีพให้ท้องถิ่น และสามารถสร้างการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
นายวิเชียร จันทรโณทัย เปิดเผยว่าการจัดงานครั้งนี้มีศิลปินทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวน ๕๓ คนจาก ๒๕ ประเทศ ตอบรับเข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงานในพื้นที่ต่างๆรูปแบบศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่ โดยศิลปินได้สร้างแรงบันดาลใจ สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัย ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของธรรมชาติและสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งจะมีการติดตั้งศิลปะถาวร จำนวน ๑๐ ชิ้น ดังนี้
๑. ผลงาน : RICE TOWER โดยศิลปิน นายบุญเสริม เปรมธาดา
๒. ผลงาน : “แมวนางงาม” โดยศิลปิน นายกฤช งามสม
๓. ผลงาน : The Art of Wonder โดยศิลปิน นางสาวธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง
๔. ผลงาน : “พลังของเรื่องเล่าและจินตนาการร่วม”นายประสิทธิ วิชายะ
๕. ผลงาน : สิมอีสาน โดยศิลปิน นายห่มสวรรค์ อู่ม่านทรัพย์ และนายอลงกรณ์ หล่อวัฒนา
๖. ผลงาน : “HUMILITY OF SOUND” โดยศิลปิน นายศิวดล สิทธิพล
๗. ผลงาน : Hopeful Breeze โดยศิลปิน นายอคราส พรขจรกิจกุล
๘. ผลงาน : “ดอกไม้และผีเสื้อ” เป็นการขยายแบบผลงานฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโดย นางสาววัชราภรณ์ บุญเลิศรบ
๙. ผลงาน : ศิลปะท้องฟ้าแห่งเมืองในฝัน โดยศิลปิน Mrs.Sandra Cinto ชาวบราซิล ร่วมกับเยาวชนโคราช
๑๐. ผลงาน : สะพาน (โมเดล) โดยศิลปิน Mr.Junya Ishigami ชาวญี่ปุ่นโดยผลงานจะจัดแสดงในพื้นที่ ๓ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองนครราชสีมา ได้แก่ Art Gallery and Exhibition สวนน้ำบุ่งตาหลั่วเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สวนสัตว์นครราชสีมา ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) บริเวณ TK Park ข้างวัดพายัพ ส่วนที่อำเภอพิมายได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย, อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กุฏิฤาษี และบริเวณหอนาฬิกา และอำเภอปากช่อง ได้แก่ หอศิลป์พิมานทิพย์
ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดกิจกรรมคู่ขนาน ได้แก่ การประกวดสัญลักษณ์งาน (Mascot)โดยนายภานุวัตน์ เสงี่ยม เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยใช้ชื่อว่า “สินสะออน” การสร้างงานศิลปะของศิลปินท้องถิ่น จำนวน ๓๐ ผลงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิลปินท้องถิ่นได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยณ ณ บริเวณคูเมือง กำแพงเมืองเก่า ตรงข้ามวัดศาลาลอย และมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของศิลปิน ๓ เมืองศิลปะ (กระบี่ เชียงราย นครราชสีมา) จังหวัดละ ๑๐๐ ผลงาน ภายใต้หัวข้อ “ธรรมชาติเป็นใหญ่ในโลก ศิลปะมีอิสระในตัวเอง” ซึ่งจะจัดแสดงระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ บริเวณชั้น ๔ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช กิจกรรม Passport ชมงาน ชิงรางวัลจากศิลปินระดับนานาชาติ การจัดแสดงลานศิลปะวัฒนธรรม ตลอดการจัดงานทุกวันเสาร์-อาทิตย์
การประกวดวาดภาพ หัวข้อ “Butterflies Frolicking on the Mud : Engendering Sensible capital” แบ่งการประกวดเป็น ๒ ระดับ การประกวดเรียงความและภาพถ่าย “เบียนนาเล่ของฉัน ณ โคราช” ในพิธีเปิดงาน มีการจัดขบวนพาเหรด ๗ ขบวน ดังนี้
ริ้วขบวนที่ ๑ เอกองค์อัครศิลปิน “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร”
ริ้วขบวนที่ ๒ สิริศิลปิน “พระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์ ศิลปินของแผ่นดิน”
ริ้วขบวนที่ ๓ ชาติพันธุ์โคราช “เมืองกล้าแม่หญิง ท้องถิ่นศิลปะ”
ริ้วขบวนที่ ๔ ประเพณีแห่เทียนพรรษา “ศิลปะแห่งความศรัทธาสืบสานงานด้านประติมากรรม”
ริ้วขบวนที่ ๕ วิถีลุ่มน้ำลำตะคอง “แตกต่างแต่กลมกลืน ความหลากหลายของวัฒนธรรม”
ริ้วขบวนที่ ๖ วิถีลุ่มน้ำมูล “อาระยะแซ่ซ้อง ศิลปะขอมแห่งนครชัยวรมัน”
ริ้วขบวนที่ ๗ “ปรากฎการณ์ ถิ่นศิลป์เบียนนาเล่ มหานครแห่งอีสาน”
ริ้วขบวนที่ ๑ เอกองค์อัครศิลปิน “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร”
ริ้วขบวนที่ ๒ สิริศิลปิน “พระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์ ศิลปินของแผ่นดิน”
ริ้วขบวนที่ ๓ ชาติพันธุ์โคราช “เมืองกล้าแม่หญิง ท้องถิ่นศิลปะ”
ริ้วขบวนที่ ๔ ประเพณีแห่เทียนพรรษา “ศิลปะแห่งความศรัทธาสืบสานงานด้านประติมากรรม”
ริ้วขบวนที่ ๕ วิถีลุ่มน้ำลำตะคอง “แตกต่างแต่กลมกลืน ความหลากหลายของวัฒนธรรม”
ริ้วขบวนที่ ๖ วิถีลุ่มน้ำมูล “อาระยะแซ่ซ้อง ศิลปะขอมแห่งนครชัยวรมัน”
ริ้วขบวนที่ ๗ “ปรากฎการณ์ ถิ่นศิลป์เบียนนาเล่ มหานครแห่งอีสาน”
ไม่มีความคิดเห็น