ไทยพร้อมจัดการประชุม “สุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565”พร้อมเน้นรูปแบบการประชุมแบบรักษ์โลก “Carbon Neutral”
(30 มีนาคม 2565) ประธานการจัดงาน Global Summit of Women 2022 หรือ การประชุมสุดยอด ผู้นำสตรีโลก 2565 และคณะกรรมการการจัดงานฝ่ายไทย แถลงข่าวความพร้อมเตรียมจัดงาน ณ ไอคอนสยาม โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมครั้งที่ 32 นับเป็นโอกาสอันดีในการแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของไทยในการจัดประชุมระดับนานาชาติ และการเป็น “World Destination” หลังจากสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัส
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และประธานกรรมการจัดงานของไทย กล่าวว่า คณะกรรมการยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ที่เป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่ของผู้นำสตรีในระดับนานาชาติ พร้อมตอกย้ำถึงความพร้อมในการจัดการประชุม ที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมประชุม และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย
“การประชุมผู้นำสตรี 2022 ในครั้งนี้ ดิฉันเชื่อมั่นว่าจะก่อเกิดพลังสตรีไทย ในการเรียนรู้และเติบโตจากสตรีผู้นำจากทั่วโลก รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือของคนทุกภาคส่วน สร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อปฏิวัติพลิกฟื้นเศรษฐกิจและเพื่อโลกที่ดีขึ้น โดยตลอดการประชุมทั้ง 3 วัน จะมีหัวข้อประชุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและภาคเอกชน เช่น “Doing Business with Thailand” ที่จะทำให้เห็นภาพของโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคต และยังมีการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะมีรัฐมนตรีเข้าร่วมมากกว่า 30 คน ที่จะร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการดำเนินนโยบายที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกัน”
การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2022” (Global Summit of Women 2020) จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม Centara Grand และ Bangkok Convention Centre กรุงเทพฯ ภายใต้ธีม: “Women: Creating Opportunities in the New Reality” โดยจะมีตัวแทนผู้นำสตรีจากภาครัฐและเอกชนจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม เป็นโอกาสอันดีในการแสดงให้นานาประเทศได้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของไทยในการเป็น “World Destination” ทั้งในด้านการจัดประชุมระดับนานาชาติ และการท่องเที่ยว ทั้งนี้เดิมประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปี 2563 แต่เนื่องจากการระบาดของโคโรนาไวรัส จึงเลื่อนมาเป็นเจ้าภาพในปี 2565
นางสาวไอรีน นาทิวิแดท (Irene Natividad) ประธานจัดการประชุมสุดยอดสตรีโลก 2022 กล่าวว่า ประเทศไทยนอกจากจะเป็นประเทศที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว ยังเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมบทบาทของสตรีในภาคธุรกิจและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
“ในฐานะประธานการจัดงานคณะทำงาน ดิฉันยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มาจัดงานในประเทศไทย โดยคาดว่าจะผู้นำสตรีทั้งภาครัฐ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของบริษัทข้ามชาติทั้งหญิงและชายจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมประชุม ทั้งจากแอฟริกาใต้ เวียดนาม ฝรั่งเศส สเปน เม็กซิโก เยอรมนี และคาซัคสถาน เป็นต้น ซึ่งบรรดาผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ต่างตื่นเต้นที่จะเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกในรอบสองปี โดยการประชุมผู้นำสตรีนี้จะเป็นเวทีที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชายในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และร่วมกันสร้างโอกาสใหม่หลังการเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด”ประธานจัดการประชุมสุดยอดสตรีโลกกล่าวว่าการประชุมผู้นำสตรีในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมเครือข่ายของความร่วมมือระหว่างประเทศ และเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมถึงการสร้างแรงบันดาลให้กับสตรีในการดำเนินธุรกิจในยุคหลังโควิด ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพนักงาน เจ้าของธุรกิจ ผู้บริโภค หรือเป็นนักลงทุน โดยย้ำว่าผู้หญิงจะเป็นพลังที่สำคัญในการพลิงฟื้นเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้หญิงมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างต่อเนื่องนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และประธานกรรมการจัดงานของไทย กล่าวว่า คณะกรรมการยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ที่เป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่ของผู้นำสตรีในระดับนานาชาติ พร้อมตอกย้ำถึงความพร้อมในการจัดการประชุม ที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมประชุม และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย
“การประชุมผู้นำสตรี 2022 ในครั้งนี้ ดิฉันเชื่อมั่นว่าจะก่อเกิดพลังสตรีไทย ในการเรียนรู้และเติบโตจากสตรีผู้นำจากทั่วโลก รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือของคนทุกภาคส่วน สร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อปฏิวัติพลิกฟื้นเศรษฐกิจและเพื่อโลกที่ดีขึ้น โดยตลอดการประชุมทั้ง 3 วัน จะมีหัวข้อประชุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและภาคเอกชน เช่น “Doing Business with Thailand” ที่จะทำให้เห็นภาพของโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคต และยังมีการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะมีรัฐมนตรีเข้าร่วมมากกว่า 30 คน ที่จะร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการดำเนินนโยบายที่จะส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกัน”
นางกอบกาญจน์ ยังให้ความมั่นใจถึงมาตรการการดูแลและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างเข้มงวดในการประชุมครั้งนี้ พร้อมกล่าวเสริมด้วยว่าการประชุมยังมีความพิเศษ โดยเป็นการจัดแบบรักษ์โลก “Carbon Neutral” จะมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการประชุม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า การเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม การจัดเลี้ยงอาหาร การบริหารขยะและของเสียภายในงาน นอกจากนี้ยังสนับสนุนกิจกรรมที่ทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเพิ่มเติม ด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศไทย นอกจากนี้ในการประชุมจะมีการนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาเป็นนักธุรกิจระดับนานาชาติ
นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงความพร้อมในการเปิดประเทศรับคณะผู้นำสตรีการประชุมระดับนานาชาติ และนักท่องเที่ยวประเทศต่างๆ“การประชุมระดับโลกในประเทศไทยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญ ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หลังจากที่ต้องอยู่ในภาวะชะลอตัวของการท่องเที่ยวจากช่วงเวลาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่น่าประทับใจให้กับผู้นำสตรีที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565 ซึ่งในปีนี้ ททท.กำหนดให้เป็นปี Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความสามารถในการหารายได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพสูงในแง่มุมของการท่องเที่ยว เพราะมีความมั่นใจและกล้าตัดสินใจในการเดินทาง จากผลความสำเร็จในการจัดประชุมครั้งนี้ จะสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็น Preferred Destination และ เป็น World Destination ได้เป็นอย่างดี”
นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ กล่าวขอบคุณคณะกรรมการจัดงานประชุมที่เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นเวทีถ่ายทอดประเด็นสำคัญทางสังคมในระดับนานาชาติ แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการจัดประชุมในระดับนานาชาติ
“งานประชุมผู้นำ สตรีโลก นับเป็นเป็นงานประชุมนานาชาติ หรือ Convention ระดับโลก ที่สนับสนุนบทบาทและสิทธิสตรีจากผู้นำสตรีบนเวทีระดับโลก ถ่ายทอดเป็นแรงบันดาลใจสู่ประชาคมโลกให้เล็งเห็นความสำคัญของ Gender Equality, Diversity and Inclusiveness ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ของไทย พร้อมกันนี้ในการประชุมที่จะมีสุดยอดผู้นำสตรจาก 60 ประเทศทั่วโลกมาร่วมประชุม จะตอกย้ำศักยภาพในการจัดประชุมระดับ World Class ของไทย และคาดว่างานในครั้งนี้จะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศราว 80 ล้านบาท”
นางนิชาภา กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมไมซ์ หรือการจัดการประชุมของไทยก็ยังสามารถสร้างการกระจายรายได้ในประเทศได้กว่า 3 หมื่น 3 พันล้านบาท พร้อมยังสร้างงานสร้างอาชีพในตลาดแรงงานได้กว่า 46,000 ตำแหน่ง โดยในปีนี้ยังมีงานประชุมระดับนานาชาติอีกหลายงานที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงงานประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค APEC Thailand 2022
นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงความพร้อมในการเปิดประเทศรับคณะผู้นำสตรีการประชุมระดับนานาชาติ และนักท่องเที่ยวประเทศต่างๆ“การประชุมระดับโลกในประเทศไทยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญ ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หลังจากที่ต้องอยู่ในภาวะชะลอตัวของการท่องเที่ยวจากช่วงเวลาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่น่าประทับใจให้กับผู้นำสตรีที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2565 ซึ่งในปีนี้ ททท.กำหนดให้เป็นปี Visit Thailand Year 2022 : Amazing New Chapters ปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความสามารถในการหารายได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพสูงในแง่มุมของการท่องเที่ยว เพราะมีความมั่นใจและกล้าตัดสินใจในการเดินทาง จากผลความสำเร็จในการจัดประชุมครั้งนี้ จะสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็น Preferred Destination และ เป็น World Destination ได้เป็นอย่างดี”
นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ กล่าวขอบคุณคณะกรรมการจัดงานประชุมที่เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นเวทีถ่ายทอดประเด็นสำคัญทางสังคมในระดับนานาชาติ แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมในการจัดประชุมในระดับนานาชาติ
“งานประชุมผู้นำ สตรีโลก นับเป็นเป็นงานประชุมนานาชาติ หรือ Convention ระดับโลก ที่สนับสนุนบทบาทและสิทธิสตรีจากผู้นำสตรีบนเวทีระดับโลก ถ่ายทอดเป็นแรงบันดาลใจสู่ประชาคมโลกให้เล็งเห็นความสำคัญของ Gender Equality, Diversity and Inclusiveness ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ของไทย พร้อมกันนี้ในการประชุมที่จะมีสุดยอดผู้นำสตรจาก 60 ประเทศทั่วโลกมาร่วมประชุม จะตอกย้ำศักยภาพในการจัดประชุมระดับ World Class ของไทย และคาดว่างานในครั้งนี้จะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศราว 80 ล้านบาท”
นางนิชาภา กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมไมซ์ หรือการจัดการประชุมของไทยก็ยังสามารถสร้างการกระจายรายได้ในประเทศได้กว่า 3 หมื่น 3 พันล้านบาท พร้อมยังสร้างงานสร้างอาชีพในตลาดแรงงานได้กว่า 46,000 ตำแหน่ง โดยในปีนี้ยังมีงานประชุมระดับนานาชาติอีกหลายงานที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงงานประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค APEC Thailand 2022
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก หรือ Global Summit of Women เป็นเวทีระดับโลกที่มีความสำคัญ เชื่อมนักธุรกิจ นักวิชาชีพ ผู้บริหารทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมจากทั่วโลก สร้างเครือข่ายความร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกอย่างยั่งยืน โดยปีนี้ที่ประชุมให้ความสำคัญกับบทบาทของสตรีในการร่วมฟื้นเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อความความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต รูปแบบการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ อย่างไรก็ตามในประชุมยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทของการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการประชุมตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมระดับโลกที่สำคัญในครั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://globewomen.org/globalsummit/
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมระดับโลกที่สำคัญในครั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://globewomen.org/globalsummit/
ไม่มีความคิดเห็น