รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลคุณภาพการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ระดับนานาชาติ แห่งแรกของไทย
วันที่ 3 ตุลาคม 2565 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว การได้รับรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วย “รางวัลคุณภาพการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระดับนานาชาติ” จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา Bronze Award from the American Heart Association (AHA) Get with the Guidelines heart failure เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
โดยมี รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้มอบรางวัล และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับมอบ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ศูนย์โรคหัวใจ เข้าร่วมงานและร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ซึ่งรางวัลคุณภาพการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระดับนานาชาติ แสดงถึงศักยภาพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระดับสากล ที่ได้มาตรฐานตามตัวชี้วัดของสมาคมโรคหัวใจ สหรัฐอเมริกา (AHA) ซึ่งได้แก่ มาตรฐานการได้รับยาที่เหมาะสม มาตรฐานการติดตามผู้ป่วย และมาตรฐานการประเมินการทำงานของหัวใจ
ผศ.นพ.สมชาย ปรีชาวัฒน์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการ ซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวของคนไทยในช่วงวัยสูงอายุ รวมถึงวัยทำงาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้ทั้งสิ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่า 70 ล้านคน ประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว โดยคาดว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วย 1 ล้านคน ที่ประสบกับภาวะหัวใจล้มเหลว และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 1 ใน 5 ของผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี
ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง หัวหน้าหน่วยอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การใช้ชีวิตของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ไม่เหนื่อยหอบ และมีอายุยืนขึ้นได้ ถ้าหากได้รับยาที่เหมาะสม ได้รับการประเมินการทำงานของหัวใจที่แม่นยำ และได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง
หน่วยของเรามีบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ครบครันที่สามารถวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างงครบวงจร และมุ่งเน้นการดูแลติดตามผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างใกล้ชิดจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งหวังลดอัตราการเสียชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำน้อยลง และการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ หัวหน้าอนุสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึง คุณภาพการดูแลผู้ป่วย (QUALITY IS OUR PRIORITY) และการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพในการดูแล ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพหัวใจ เป็นต้น ซึ่งการเน้นเรื่องคุณภาพจากการดูแลผู้ป่วย สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยความสำเร็จของการได้รางวัลคุณภาพในครั้งนี้ ได้จากความทุ่มเทของทุกฝ่าย ที่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมาตรฐานในนโยบายการดูแลผู้ป่วย การมั่งเน้นให้ความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ
หน่วยของเรามีบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ครบครันที่สามารถวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างงครบวงจร และมุ่งเน้นการดูแลติดตามผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างใกล้ชิดจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อมุ่งหวังลดอัตราการเสียชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำน้อยลง และการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ หัวหน้าอนุสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึง คุณภาพการดูแลผู้ป่วย (QUALITY IS OUR PRIORITY) และการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพในการดูแล ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพหัวใจ เป็นต้น ซึ่งการเน้นเรื่องคุณภาพจากการดูแลผู้ป่วย สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยความสำเร็จของการได้รางวัลคุณภาพในครั้งนี้ ได้จากความทุ่มเทของทุกฝ่าย ที่ปฏิบัติตามเป้าหมายของมาตรฐานในนโยบายการดูแลผู้ป่วย การมั่งเน้นให้ความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ
ตัวชี้วัดของรางวัลเป็นไปตามแนวเวชปฏิบัติ (guidelines) มาตรฐาน ซึ่งได้แก่ การได้รับยามาตรฐานที่เหมาะสม การได้รับการติดตามต่อเนื่อง การประเมินการทำงานของหัวใจที่แม่นยำ และการรักษาความเสี่ยงร่วม เช่น ไขมันสูงในเลือด เป็นต้น ซึ่งเราทราบดีว่าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามตัวชี้วัดเหล่านี้ ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้น ดังนั้นรางวัลนี้จึงมีขึ้นเพื่อวัดผลว่าเราได้ทำตาม guidelines มากน้อยเพียงใด และกระตุ้นให้เราทำให้ได้ตามเป้าหมาย โดยเกณฑ์เป้าหมาย คือ ต้องทำให้ได้มากกว่าร้อยละ 85 ของแต่ละตัวชี้วัด จึงจะได้รับตราคุณภาพนี้ หรือรางวัล
การได้รับรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา Bronze Award from the American Heart Association (AHA) Get with the Guidelines heart failure เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในครั้งนี้ เสมือนเป็นตราสัญญลักษณ์แห่งความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานระดับสากล ที่เกิดจากความทุ่มเทของทุกภาคส่วน เป็นแรงบันดาลใจในการพัมนาดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
การได้รับรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยรางวัลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา Bronze Award from the American Heart Association (AHA) Get with the Guidelines heart failure เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในครั้งนี้ เสมือนเป็นตราสัญญลักษณ์แห่งความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานระดับสากล ที่เกิดจากความทุ่มเทของทุกภาคส่วน เป็นแรงบันดาลใจในการพัมนาดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น