Soft Power ผ่านสื่อบันเทิงฉลุย ครม.รับลูกแผนหนุน Soft Power ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิง วธ.ร่วมกับทุกภาคส่วนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ร่วมศึกษา –จัดทำร่างแผนงาน มาตรการภาษีจูงใจ พร้อมขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม เน้นสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสินค้าบริการ แข่งขันในตลาดโลก
วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รับมอบหมายจากครม.และนายกรัฐมนตรี ให้ศึกษาแนวทางการใช้สื่อบันเทิงเพื่อนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในวาระต่าง ๆ ส่งเสริมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีและวัฒนธรรมประเพณีไทย โดยมีการรายงานต่อ ครม. เป็นระยะนั้น ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติ ครม. เรื่อง การนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศในลักษณะ Soft Power โดยวธ.ได้ศึกษาและหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรกำหนดแนวทางการนำเสนอเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนา พอสังเขป ดังนี้ 1.การส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะอำนาจละมุน ลงวันที่ 20 มกราคม 2565 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ กำหนดมาตรการแนวทางและสนับสนุนการสร้างภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power
2. การจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ระยะเวลาและเป้าหมายขับเคลื่อนงาน การใช้สื่อบันเทิงนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามพันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งเตรียมมาตรการลดหย่อนภาษีหรือมาตรการทางการเงินจูงใจให้ผู้ประกอบการ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า บริการ ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงฯ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการและรับผิดชอบดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนแผนฯ ต่อไป
รมว.วธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ครม.รับทราบแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรม เพื่อกำหนดนโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าบริการทางวัฒนธรรม ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ฯลฯ 2.การจัดทำ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อใช้เป็นแผนแกนกลางของการขับเคลื่อนงาน โดยมีสาระสำคัญ อาทิ การศึกษาและจัดทำจุดยืนของประเทศไทยในการขับเคลื่อน Soft Power (Thailand’s Soft Power Positioning) หรือการสร้างอัตลักษณ์ด้าน Soft Power ของประเทศไทย (Nation Branding) เพื่อให้เกิดการจดจำในสายตาของประชาคมโลก ,การกำหนดภาพรวมคุณค่า (Value) และเนื้อหาให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม , การบูรณาการทุกภาคส่วนศึกษาวิจัยและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง จัดทำดัชนีชี้วัดด้าน Soft Power ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ของโลก , ศึกษาแนวโน้มและสภาพการตลาดของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพในการเป็น Soft Power , การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การพัฒนา กลยุทธ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ รวมถึงโครงการสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนา Soft Power ของประเทศไทย เป็นต้น
2. การจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงในลักษณะ Soft Power ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ระยะเวลาและเป้าหมายขับเคลื่อนงาน การใช้สื่อบันเทิงนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามพันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งเตรียมมาตรการลดหย่อนภาษีหรือมาตรการทางการเงินจูงใจให้ผู้ประกอบการ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า บริการ ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศผ่านสื่อบันเทิงฯ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการและรับผิดชอบดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนแผนฯ ต่อไป
รมว.วธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ครม.รับทราบแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรม เพื่อกำหนดนโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าบริการทางวัฒนธรรม ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ฯลฯ 2.การจัดทำ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อน Soft Power ด้วยมิติทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อใช้เป็นแผนแกนกลางของการขับเคลื่อนงาน โดยมีสาระสำคัญ อาทิ การศึกษาและจัดทำจุดยืนของประเทศไทยในการขับเคลื่อน Soft Power (Thailand’s Soft Power Positioning) หรือการสร้างอัตลักษณ์ด้าน Soft Power ของประเทศไทย (Nation Branding) เพื่อให้เกิดการจดจำในสายตาของประชาคมโลก ,การกำหนดภาพรวมคุณค่า (Value) และเนื้อหาให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม , การบูรณาการทุกภาคส่วนศึกษาวิจัยและข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง จัดทำดัชนีชี้วัดด้าน Soft Power ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ของโลก , ศึกษาแนวโน้มและสภาพการตลาดของสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมไทยที่มีศักยภาพในการเป็น Soft Power , การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การพัฒนา กลยุทธ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ รวมถึงโครงการสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนา Soft Power ของประเทศไทย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น