International Symposium on World Social Work Dayโดยศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
การจัดสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ “การส่งเสริมงานสังคมสงเคราะห์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นการจัดงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 โดยมีธีม คือ ความมั่นคงมนุษย์ คือ ความมั่นคงโลก และ มีการประยุกต์ใช้ธีมวันสังคมสงเคราะห์โลก“เคารพความหลากหลายผ่านการกระทำทางสังคมร่วมกัน” เข้าเป็นไปในเนื้อหาของงาน เป็นsub-theme ในทุกห้อง ทุกรอบ ของงานสัมมนาวิชาการ ซึ่งจัดที่โรงแรมโนโวเทล แพลตินัม วันที่ 24 มีนาคม 2566
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนและสะท้อนถึงความสำคัญในประเด็นปัญหาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงมนุษย์ในมิติต่างๆ และ สวัสดิการต่างๆในบริบทสวัสดิการเด็ก ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านสุขภาพ และความมั่นคงทางการเงิน พร้อมตระหนักถึงความสำคัญของการโดยให้ประเด็นความหลากหลายอยู่ในทุกห้อง กลุ่มเปราะบาง หลากหลายกลุ่มช่วงอายุ มีทั้งเคสในประเทศต่างๆในอาเซียนและในภูมิภาคใกล้เคียง อาทิ เอเชียแปซิฟิก โดยหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้รับและการสร้างเครือข่าย จากการสัมมนานี้ มาร่วมกันสร้างโดยการกระทำทางสังคมร่วมกัน” โดยคาดหวังว่าช่วยพัฒนาแนวทางการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมในอนาคตข้างหน้า
ทางศูนย์ ATCSW ได้เชิญประเทศไทยเปิดงาน ในฐานะHosting Country ผ่านกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ โดยมีท่านปลัด อนุกูล ปีดแก้วให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และ มีผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนคือรองเลขาธิการอาเซียน H.E. Ekkaphab Phanthavong, Deputy Secretary-General of ASEAN for ASEAN Socio-Cultural Community ให้เกียรติร่วมเปิดงานในฐานะตัวแทนประเทศสมาชิกอาเซียนและได้แสดงความยินดีกับประเทศไทยและศูนย์ ATCSW และ มีการกล่าวต้อนรับแขกประธานและผู้มีเกียรติทุกท่านและผู้ให้การสนับสนุนต่างๆในงาน โดยผอ.วรรณา สุขศรีบูรณ์อำไพ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (ATCSW)งานสัมมนาวิชาการดังกล่าวได้มีการเชิญผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม GOs, IGOs, NGOs, วิชาการและสื่อ รวมถึงภาคประชาชนเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติทางสังคมสงเคราะห์ในบริบทสวัสดิการเด็ก ความมั่นคงสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางการเงิน โดยเชิญกลุ่มคนที่หลากหลาย อาทิเช่น คนพิการ แม่/พ่อเลี้ยงเดี่ยว กลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้สูงวัย เยาวชน ฯลฯ ตามแนวคิดวันสังคมสงเคราะห์ โดยเคารพความหลากหลายมาแลกเปลี่ยนมุมมองในทางสังคมร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติด้านสังคมสงเคราะห์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในอาเซียนและภูมิภาคใกล้เคียง
ช่วงเปิดงาน
โดยโปรแกรมกำหนดการเริ่มจากท่านปลัดกระทรวงกล่าวเปิด ตามด้วย วีดีโอเปิดงานจาก DSG-ASCC
จากนั้น ผู้อำนวยการศูนย์กล่างต้อนรับ อธิบายถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์โดยสังเขป และการออกแบบรูปแบบของงาน symposium ให้ครอบคลุม 4 ห้อง (ห้องสวัสดิการเด็ก ห้องสิ่งแวดล้อม ห้องสุขภาพ และห้องการเงิน) ดำเนินรายการพร้อมๆกันทั้ง 4 ห้อง ซึ่งแต่ละห้อง จะแบ่งเป็น การบรรยาย การเสวนา การพูดแบบว่าไรตี้ และการมีส่วนร่วมของผู้อภิปรายและผู้ฟัง และได้แจ้งต่อผู้เข้าร่วมงานถึงจำนวนชั่วโมงการรับฟังสาระ จำนวน 17 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับ 1.5 หน่วยกิตในหลักสูตรปริญญาตรีหรือการศึกษาต่อเนื่อง และ ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับหน่วยสะสมสำหรับใบประกอบวิชาชีพ จากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เช่นเดียวกับปีที่แล้ว และ ผู้อำนวยการศูนย์กล่าวเรียนเชิญ ให้ผู้เข้าร่วมทุกท่าน ตั้งคำถามที่น่าสนใจ สำคัญต่องานท่าน และ ลองเปลี่ยนมุมมองความคิดให้ลองพิจารณาเข้าสู่โหมด ของการพร้อมเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง และได้กล่าวขอบคุณหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้เป็นอย่างดี อาทิ มูลนิธิเอเชีย ไฟเซอร์ Mekong Institute โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ AUA Language Center, ACSDSD, APCD, UNFPA, UNESCO, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิสำโรงการแพทย์ SWAT, FFF, สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ GISW, ASEAN Foundation, University of Melbourne, APASWE
ศูนย์ได้รับเกียรติจาก ผู้ดำเนินรายการกิตติมศักดิ์ จำนวน 7 ท่าน ครอบคลุมทั้ง 4 ห้องและวิทยากรในงานและมาทางประชุมทางไกลรวม ประมาณ 50 ท่าน หมุนเวียนสลับกันและพิธีกรมืออาชีพ 1 ท่าน มีล่ามประจำห้อง ห้องละอย่างน้อย 1 ท่าน มีเจ้าหน้าที่เทคนิคจากพม และ ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ นักศึกษาฝึกงานและอาสาสมัคร จากศูนย์ ATCSW และ จาก ประเทศไทย ผ่าน กองการต่างประเทศ พม และ กสค ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้
ทั้งนี้ กิจกรรมภายในงานจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจแตกต่างกันไป 4 ห้อง
ห้องที่ 1 : ความมั่นคงทางสังคมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวคิดนโยบายการดูแลเด็กด้านเศรษฐกิจ
Childcare Provision: Filling the Gap for Early Childhood Development in Thailand
Digital Labor Platforms for Childcare Service Provision
ความมั่นคงทางสังคมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวคิดนโยบายการดูแลเด็กด้านเศรษฐกิจ
รอบที่ 1 การอภิปรายกลุ่มหัวข้อ Review of Childcare Services to Support Women's Workforce Participation in Thailand – Challenges and Solutions
● แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
การศึกษานี้เห็นว่ามีเหตุผลเพียงพอที่รัฐควรจัดสรรเงินงบประมาณอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าโดยขยายกรอบเงินอุดหนุนถ้วน หน้าได้ถึง 0.13-0.25 ของ GDP (29,000-45,000ล้านบาท) และหากรัฐต้องการก้าวข้าม ความเป็นประเทศติดกับรายได้ปานกลาง การลงทุนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของแม่และเด็กปฐมวัยที่ดี และเหมาะสม ต่อการพัฒนา เรียนรู้จะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
ห้องที่ 2 : ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับ ความมั่นคงของมนุษย์โลก
การบรรยาย โดย ดรรชนี เอมพันธุ์ วิธีป้องกันภัยธรรมชาติในฐานะผู้หญิง ผู้หญิงรับรู้และตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นอย่างไร การนําเสนอภัยธรรมชาติที่แตกต่างกัน: "ภัยธรรมชาติไม่เลือกเพศ" ซึ่งผลกระทบจากภัยพิบัติขึ้นอยู่กับความรุนแรงตามที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและการเตรียมพร้อมรวมถึงความแตกต่างกันของเพศในสังคมส่งผลต่อวิธีที่แต่ละเพศเตรียมพร้อมสําหรับภัยพิบัติ ปฏิกิริยา และการฟื้นตัว
ตัวอย่าง เหตุการณ์ไฟป่า: จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิง ได้แก่ ความกลัว (การสูญเสียชีวิต ครอบครัว และทรัพย์สิน) อาหาร สุขภาพ เศรษฐกิจสังคม ชุมชน ฯลฯ
บทบาทของผู้หญิง ได้แก่ การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับไฟป่า การรณรงค์ป้องกัน สนับสนุนบทบาทในการต่อสู้กับไฟป่า (การจัดหานักผจญเพลิง) การตรวจจับและติดตาม ฯลฯ
ข้อแก้ไขสามารถเสริมสร้างความเป็นผู้นําของผู้หญิงในสังคม โดยที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในสังคมมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ เช่นการ ประสานงาน การระดมทุนและการบรรยายในคำถาม Can we really prevent climate and develop in a sustainable way from the social development perspective? ดร ปิติ ศรีแสงนาม สรุปได้ว่า บทบาทของอาเซียนในประเด็นนี้: อํานวยความสะดวกในความร่วมมือ กําหนดเป้าหมายและมาตรฐานระดับภูมิภาค ส่งเสริมความยั่งยืนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างการลดความเสี่ยงและการจัดการภัยพิบัติ และส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชน ซึ่งการทํางานอาเซียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมาและปัจจุบันอาเซียนดําเนินโครงการหลักอย่างน้อย 3 โครงการ ได้แก่
● โครงการ ASEAN Young Climate Leaders (เพื่อจูงใจให้คนหนุ่มสาวตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาคอาเซียน)
● การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) Hackathon "การจัดการกับพลาสติกทางทะเล" (อยู่ในช่วงดำเนินการ)
● Empowering Youths
การมีส่วนร่วม เรื่องธุรกิจ PPP การ Recycle ขยะโดยคนพิการ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดวิทยากรต่างๆ อาทิ คนพิการที่สวมหมวดในหมวกวิศวกรและนักสังคมสงเคราะห์ คนพิการในหมวกราชการ จาก พม. เลขาธิการสมาคม Solid Waste Association แห่งประเทศไทย บริษัทวงษ์พาณิชย์ และศูนย์ ATCSW ซึ่งข้อสรุป มีความเป็นไปได้ สามารถใช้พื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน แม้กระทั่งแผงขายล็อตเตอรี่ที่ทั้งเดือนยุ่งแค่2วัน สามารถให้ตู้รีไซเคิลมีการโฆษณาพาณิชย์ได้เป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้ธุรกิจที่ลงทุน และ คนพิการโดยเฉพาะกลุ่มออทิสติกจะทำหน้าที่ได้ดีกับงานประเภทนี้ และสอดคล้องกับมาตรากฎหมายช่วยงานคนพิการ และธุรกิจต้องกล้าที่เริ่มแตกต่าง ซึ่งทำได้ ทำจริง และคนกลุ่มนี้มีความตั้งใจในการทำงานสูง และองค์กรควรดูแลให้ดียิ่ง
ห้องที่ 3 ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงในบริบทโลกจากการแพร่ระบาดสู่วิถีชีวิตที่สุขภาพดี
ในช่วง Talk จะเป็นหัวข้อ อาเซียน: การเปรียบเทียบบริการและสวัสดิการที่มีให้สำหรับคนพิการ โดยมีนายแพทย์ภาริส วงศ์แพทย์ พูดคุยเกี่ยวกับประเด็น เทคโนโลยีการฟื้นฟูใหม่และมีประสิทธิภาพที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้มีคนพิการ 2 ท่าน นายคริสโตเฟอร์ เบญจกุล จากองค์กร ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) และ ณิชชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ พูดประเด็นเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
ในช่วงการบรรยาย โดย ศ.นพ.อนุชา อภิสารธนรักษ์ ในหัวข้อ COVID-19 และ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ยาวนาน; การปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ โดยการบรรยายครั้งนี้ คุณหมออนุชาได้บรรยายถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่โรคซาร์ส สู่โควิด-19 และผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น และมีการกล่าวถึงวัคซีนอีกด้วย ซึ่งโรคระบาดในครั้งนี้นำไปสู่ Self-Love การรักตัวเอง ผู้คนเริ่มหันมาดูแลสนใจ และรักษาสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้นและดร.วิพุธ พูลเจริญ บรรยายในหัวข้อ ชานชาลาดิจิทัลระบบการคุ้มครองเด็กในชุมชนทำร่วมกับกทม. เพื่อเป็นการให้ชุมชนร่วมกันดูแลคุ้มครองเด็กใช้หลายภาคีมาช่วยกัน และ อาจารย์วัชระ อมรศิริ นำเสนอเรื่อง แพลตฟอร์มโซเชียลเทเลแคร์ (Social Telecare platform) นำร่อง 12 พื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ช่วยยกระดับการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ยุคใหม่ ประเมิน-ดูแล-ติดตาม ผู้ป่วยได้มาตรฐาน ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงการสร้างนักสังคมสงเคราะห์ท้องถิ่นโดยมี นายแพทย์ สุนทร ศรีทา กล่าวอภิปรายปิดท้ายเกี่ยวกับชีวิตหลังโควิด การใช้ชีวิตประจำอย่างไร
ห้องที่ 4 ความมั่นคงทางการเงิน คือ ความมั่นคงของมนุษย์
ห้องที่ 4: ประเด็นเรื่อง ความมั่นคงทางการเงิน สำหรับความมั่นคงของมนุษย์ (Financial stability for human security)
รอบที่ 1 พูดคุย แลกเปลี่ยน เรื่อง Inclusion of Physically Challenged Population towards Financial Stability โดย H.E. Mr. Pat Bourne Ambassador Embassy of Ireland in Thailand
การบรรยายพิเศษ โดยท่านเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ ท่านทูต Pat Bourne โดยมี ผอ.ศูนย์ ATCSW คุณวรรณา ให้เกียรติดำเนินรายการ
ท่านทูตกล่าวถึง ความพิการโดยกำเนิด และดำเนินอาชีพทูตมากว่า40ปี มีชีวิตคู่ แต่งงานมีบุตร และมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นชีวิตที่ไม่ง่าย แม้ต้องพริ้นท์ตัวอักษรใหญ่กว่าคนปรกติอ่าน และต้องอ่านด้านข้าง และสุดท้ายท่านต้องอาศัยความจำที่ดีมาก ในยุคต้นที่ท่านเริ่มเข้ากระทรวงการต่างประเทศ ประเทศยังไม่จัดว่าเป็นประเทศร่ำรวย ในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายและเน้นไปทางศาสนาโบสถ์เพื่อช่วยคนตาบอด ให้ได้รับเข้าสถาบัน ในยุคแรกท่าน ท่านซ่อนความพิการไว้ แต่ภายหลังท่านเปิดเผย และได้ประโยชน์จากการประเทศเข้าสู่ European Union ในเรื่องสวัสดิการ เช่นประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด หรือ เยอรมัน และ ความเท่าเทียม เริ่มจากกฎหมายและเริ่มในสภา เพื่อสร้างสิทธิที่เท่าเทียม เพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันในการทำงาน เช่นเดียวกับ การกีดกันในเรื่องอื่นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ทำให้ท่านซึ่งเป็นคนส่วนน้อย หรือเพียงคนเดียวที่มีความพิการทางสายตาให้ สามารถเข้าทำงานในกระทรวงต่างประเทศได้ และ ระบบการศึกษา สอนให้เกิดความรู้และความเข้าใจ เพื่อเข้าใจสิทธิของตนเอง และสอนให้สาธารณะเข้าใจคนพิการ การศึกษาสอนคนทำงานในองค์กรให้ทราบว่าต้องปฏิบัติดูแลคนพิการในที่ทำงานอย่างไร เทคโนโลยีมือถือสามารถช่วยคนพิการให้ทำงานได้ดี เช่น Siri iphone talk-over-text มีจอที่ใหญ่ขึ้น มีแอพลิเคชั่นต่างๆ ที่ช่วยคนพิการ นั่นคือสิ่งที่คนพิการทั่วโลกควรใช้ ทุกองค์การควรคุยภายในในการดูแลคนพิการ และควรใช้นโยบายภาษี เพื่อจ้างคนพิการ คนกลุ่มน้อยทำให้แรงงานเหล่านี้มีความหลากหลายและช่วยเพิ่ม GDP
รอบที่3: เรื่อง Multidisciplinary Perspectives toward Financial Stability in a SocietyAssoc. Prof. Dr. Surat Teerakapibal TU Vice Rector กล่าวว่าในประเด็นผู้สูงวัย จากการประมาณการ หากภาครัฐจะดำเนินนโยบายให้เงินบำนาญคนชราท่านละ 3,000 บาท ต่อเดือน ต่อคน ภาครัฐอาจจะต้องเตรียมงบประมาณถึงราว 432,000 ล้านบาท
Dr. Melba Manapol, Chair of Governing Board of ATCSW กล่าวในประเทศคนที่พิการทางสมองหรือมีปัญหาสุขภาพจิต ว่าในโลกนี้อย่างน้อย 300 ล้านคน มีโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เพศใด วัฒนธรรมใด เศรษฐกิจใด แม้กระทั่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้กลาง กว่า75เปอร์เซ็นต์ของคนในประเทศเหล่านี้ มิได้รับการดูแลรักษา และการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการตายอันดับสี่ ในกลุ่มอายุ 15-19ปี
รอบที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน เรื่อง Same Sex Marriage
การอภิปรายปลายเปิด มีการกล่าวถึงในกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ในทางเศรษฐกิจ และ ในกรณียุโรปเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนกล่าวถึงเรื่องพัฒนาการด้านกฎหมาย และ มีการแชร์ประสบการณ์เล่าถึงชีวิตคู่ในผู้มีความหลากหลายทางเพศในชีวิตที่อยู่รวมยาวนานที่มีความมั่นคง และ มีการแสดงมุมมองของผู้หญิงข้ามเพศพูดเรื่อง สวัสดิการ โดยมีวิทยากรอภิปรายกิตติมศักดิ์ Dr. Anthony Pramualratana รองผู้อำนวยการ ACSDSD ให้เกียรติร่วมบรรยาย และวิทยากรอีก4ท่าน เช่น ในบริบทสุขภาพ ในกรณีการเสียชีวิต และสิทธิต่างๆในมุมมอง สิทธิมนุษยชน และ มีการพูดเรื่องสุขภาพ กายภาพของมนุษย์ เช่นฮอร์โมนส
ทั้งนี้จากการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคมในปัจจุบันและอนาคต จะช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการ มีเวทีระดับนานาชาติที่มีความเป็นมืออาชีพเป็นพื้นที่เปิดให้ นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนา อาจารย์ นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ได้มาแลกเปลี่ยนในเวทีสาธารณะขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน และร่วมสร้างมั่นคงโลก ผ่านความมั่นคงมนุษย์ โดยร่วมกัน"เคารพความหลากหลายผ่านการกระทำทางสังคมร่วมกัน" ทุกภาคส่วนต่างๆ สามารถนำความรู้ แนวทาง และมุมมองแนวคิดจากการเข้าร่วมโครงการไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาแนวทางการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมในอนาคตข้างหน้า และ ขอขอบคุณประเทศไทย ผ่านกระทรวง พม ในฐานะ Hosting Country และ ผู้สนันสนุนทุกหน่วยงานให้มีเวทีเช่นนี้ ปีละครั้งในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง
Facebook: ATCSW,
Twitter: ASEANTCSW,
Website: ATCSW,
LinkedIn: http://atcsw-thailand.m-society.go.th/en/sample-page/
ลิ้งค์แนบท้าย
พิธีเปิด การบรรยายปาฐกถา:
https://fb.watch/ju6RTVRZLQ/?mibextid=tejx2t
Credit: the Asia Foundation
การบรรยายทั้ง4 ห้อง
ห้อง 1:
Social Security for Human Security in the Paradigm of Childcare Economy and policy.
https://youtube.com/live/6MlZ9GH8yvU?feature=share
ห้อง 2:
Environmental Sustainability for Human and Global Security.
https://youtube.com/live/ZwO0nQ6jmD8?feature=share
ห้อง 3:
Health Security for Global security (from the pandemic to healthy lifestyles).
https://youtube.com/live/CYxpGbNDJKQ?feature=share
ห้อง 4:
Financial stability for human security
https://youtube.com/live/HtdWpue-drA?feature=share
ห้องที่ 1 : ความมั่นคงทางสังคมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวคิดนโยบายการดูแลเด็กด้านเศรษฐกิจ
Childcare Provision: Filling the Gap for Early Childhood Development in Thailand
Digital Labor Platforms for Childcare Service Provision
ความมั่นคงทางสังคมเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวคิดนโยบายการดูแลเด็กด้านเศรษฐกิจ
รอบที่ 1 การอภิปรายกลุ่มหัวข้อ Review of Childcare Services to Support Women's Workforce Participation in Thailand – Challenges and Solutions
● แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
การศึกษานี้เห็นว่ามีเหตุผลเพียงพอที่รัฐควรจัดสรรเงินงบประมาณอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าโดยขยายกรอบเงินอุดหนุนถ้วน หน้าได้ถึง 0.13-0.25 ของ GDP (29,000-45,000ล้านบาท) และหากรัฐต้องการก้าวข้าม ความเป็นประเทศติดกับรายได้ปานกลาง การลงทุนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของแม่และเด็กปฐมวัยที่ดี และเหมาะสม ต่อการพัฒนา เรียนรู้จะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
ห้องที่ 2 : ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับ ความมั่นคงของมนุษย์โลก
การบรรยาย โดย ดรรชนี เอมพันธุ์ วิธีป้องกันภัยธรรมชาติในฐานะผู้หญิง ผู้หญิงรับรู้และตอบสนองต่อปัญหาเหล่านั้นอย่างไร การนําเสนอภัยธรรมชาติที่แตกต่างกัน: "ภัยธรรมชาติไม่เลือกเพศ" ซึ่งผลกระทบจากภัยพิบัติขึ้นอยู่กับความรุนแรงตามที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและการเตรียมพร้อมรวมถึงความแตกต่างกันของเพศในสังคมส่งผลต่อวิธีที่แต่ละเพศเตรียมพร้อมสําหรับภัยพิบัติ ปฏิกิริยา และการฟื้นตัว
ตัวอย่าง เหตุการณ์ไฟป่า: จะส่งผลกระทบต่อผู้หญิง ได้แก่ ความกลัว (การสูญเสียชีวิต ครอบครัว และทรัพย์สิน) อาหาร สุขภาพ เศรษฐกิจสังคม ชุมชน ฯลฯ
บทบาทของผู้หญิง ได้แก่ การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับไฟป่า การรณรงค์ป้องกัน สนับสนุนบทบาทในการต่อสู้กับไฟป่า (การจัดหานักผจญเพลิง) การตรวจจับและติดตาม ฯลฯ
ข้อแก้ไขสามารถเสริมสร้างความเป็นผู้นําของผู้หญิงในสังคม โดยที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในสังคมมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ เช่นการ ประสานงาน การระดมทุนและการบรรยายในคำถาม Can we really prevent climate and develop in a sustainable way from the social development perspective? ดร ปิติ ศรีแสงนาม สรุปได้ว่า บทบาทของอาเซียนในประเด็นนี้: อํานวยความสะดวกในความร่วมมือ กําหนดเป้าหมายและมาตรฐานระดับภูมิภาค ส่งเสริมความยั่งยืนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างการลดความเสี่ยงและการจัดการภัยพิบัติ และส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชน ซึ่งการทํางานอาเซียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมาและปัจจุบันอาเซียนดําเนินโครงการหลักอย่างน้อย 3 โครงการ ได้แก่
● โครงการ ASEAN Young Climate Leaders (เพื่อจูงใจให้คนหนุ่มสาวตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาคอาเซียน)
● การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) Hackathon "การจัดการกับพลาสติกทางทะเล" (อยู่ในช่วงดำเนินการ)
● Empowering Youths
การมีส่วนร่วม เรื่องธุรกิจ PPP การ Recycle ขยะโดยคนพิการ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดวิทยากรต่างๆ อาทิ คนพิการที่สวมหมวดในหมวกวิศวกรและนักสังคมสงเคราะห์ คนพิการในหมวกราชการ จาก พม. เลขาธิการสมาคม Solid Waste Association แห่งประเทศไทย บริษัทวงษ์พาณิชย์ และศูนย์ ATCSW ซึ่งข้อสรุป มีความเป็นไปได้ สามารถใช้พื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน แม้กระทั่งแผงขายล็อตเตอรี่ที่ทั้งเดือนยุ่งแค่2วัน สามารถให้ตู้รีไซเคิลมีการโฆษณาพาณิชย์ได้เป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้ธุรกิจที่ลงทุน และ คนพิการโดยเฉพาะกลุ่มออทิสติกจะทำหน้าที่ได้ดีกับงานประเภทนี้ และสอดคล้องกับมาตรากฎหมายช่วยงานคนพิการ และธุรกิจต้องกล้าที่เริ่มแตกต่าง ซึ่งทำได้ ทำจริง และคนกลุ่มนี้มีความตั้งใจในการทำงานสูง และองค์กรควรดูแลให้ดียิ่ง
ห้องที่ 3 ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงในบริบทโลกจากการแพร่ระบาดสู่วิถีชีวิตที่สุขภาพดี
ในช่วง Talk จะเป็นหัวข้อ อาเซียน: การเปรียบเทียบบริการและสวัสดิการที่มีให้สำหรับคนพิการ โดยมีนายแพทย์ภาริส วงศ์แพทย์ พูดคุยเกี่ยวกับประเด็น เทคโนโลยีการฟื้นฟูใหม่และมีประสิทธิภาพที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้มีคนพิการ 2 ท่าน นายคริสโตเฟอร์ เบญจกุล จากองค์กร ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) และ ณิชชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ พูดประเด็นเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนน
ในช่วงการบรรยาย โดย ศ.นพ.อนุชา อภิสารธนรักษ์ ในหัวข้อ COVID-19 และ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ยาวนาน; การปรับให้เข้ากับชีวิตประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ โดยการบรรยายครั้งนี้ คุณหมออนุชาได้บรรยายถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่โรคซาร์ส สู่โควิด-19 และผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น และมีการกล่าวถึงวัคซีนอีกด้วย ซึ่งโรคระบาดในครั้งนี้นำไปสู่ Self-Love การรักตัวเอง ผู้คนเริ่มหันมาดูแลสนใจ และรักษาสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้นและดร.วิพุธ พูลเจริญ บรรยายในหัวข้อ ชานชาลาดิจิทัลระบบการคุ้มครองเด็กในชุมชนทำร่วมกับกทม. เพื่อเป็นการให้ชุมชนร่วมกันดูแลคุ้มครองเด็กใช้หลายภาคีมาช่วยกัน และ อาจารย์วัชระ อมรศิริ นำเสนอเรื่อง แพลตฟอร์มโซเชียลเทเลแคร์ (Social Telecare platform) นำร่อง 12 พื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ช่วยยกระดับการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ยุคใหม่ ประเมิน-ดูแล-ติดตาม ผู้ป่วยได้มาตรฐาน ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงการสร้างนักสังคมสงเคราะห์ท้องถิ่นโดยมี นายแพทย์ สุนทร ศรีทา กล่าวอภิปรายปิดท้ายเกี่ยวกับชีวิตหลังโควิด การใช้ชีวิตประจำอย่างไร
ห้องที่ 4 ความมั่นคงทางการเงิน คือ ความมั่นคงของมนุษย์
ห้องที่ 4: ประเด็นเรื่อง ความมั่นคงทางการเงิน สำหรับความมั่นคงของมนุษย์ (Financial stability for human security)
รอบที่ 1 พูดคุย แลกเปลี่ยน เรื่อง Inclusion of Physically Challenged Population towards Financial Stability โดย H.E. Mr. Pat Bourne Ambassador Embassy of Ireland in Thailand
การบรรยายพิเศษ โดยท่านเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ ท่านทูต Pat Bourne โดยมี ผอ.ศูนย์ ATCSW คุณวรรณา ให้เกียรติดำเนินรายการ
ท่านทูตกล่าวถึง ความพิการโดยกำเนิด และดำเนินอาชีพทูตมากว่า40ปี มีชีวิตคู่ แต่งงานมีบุตร และมีความมั่นคงทางการเงิน เป็นชีวิตที่ไม่ง่าย แม้ต้องพริ้นท์ตัวอักษรใหญ่กว่าคนปรกติอ่าน และต้องอ่านด้านข้าง และสุดท้ายท่านต้องอาศัยความจำที่ดีมาก ในยุคต้นที่ท่านเริ่มเข้ากระทรวงการต่างประเทศ ประเทศยังไม่จัดว่าเป็นประเทศร่ำรวย ในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายและเน้นไปทางศาสนาโบสถ์เพื่อช่วยคนตาบอด ให้ได้รับเข้าสถาบัน ในยุคแรกท่าน ท่านซ่อนความพิการไว้ แต่ภายหลังท่านเปิดเผย และได้ประโยชน์จากการประเทศเข้าสู่ European Union ในเรื่องสวัสดิการ เช่นประเทศสวีเดน เนเธอร์แลนด หรือ เยอรมัน และ ความเท่าเทียม เริ่มจากกฎหมายและเริ่มในสภา เพื่อสร้างสิทธิที่เท่าเทียม เพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันในการทำงาน เช่นเดียวกับ การกีดกันในเรื่องอื่นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ทำให้ท่านซึ่งเป็นคนส่วนน้อย หรือเพียงคนเดียวที่มีความพิการทางสายตาให้ สามารถเข้าทำงานในกระทรวงต่างประเทศได้ และ ระบบการศึกษา สอนให้เกิดความรู้และความเข้าใจ เพื่อเข้าใจสิทธิของตนเอง และสอนให้สาธารณะเข้าใจคนพิการ การศึกษาสอนคนทำงานในองค์กรให้ทราบว่าต้องปฏิบัติดูแลคนพิการในที่ทำงานอย่างไร เทคโนโลยีมือถือสามารถช่วยคนพิการให้ทำงานได้ดี เช่น Siri iphone talk-over-text มีจอที่ใหญ่ขึ้น มีแอพลิเคชั่นต่างๆ ที่ช่วยคนพิการ นั่นคือสิ่งที่คนพิการทั่วโลกควรใช้ ทุกองค์การควรคุยภายในในการดูแลคนพิการ และควรใช้นโยบายภาษี เพื่อจ้างคนพิการ คนกลุ่มน้อยทำให้แรงงานเหล่านี้มีความหลากหลายและช่วยเพิ่ม GDP
รอบที่3: เรื่อง Multidisciplinary Perspectives toward Financial Stability in a SocietyAssoc. Prof. Dr. Surat Teerakapibal TU Vice Rector กล่าวว่าในประเด็นผู้สูงวัย จากการประมาณการ หากภาครัฐจะดำเนินนโยบายให้เงินบำนาญคนชราท่านละ 3,000 บาท ต่อเดือน ต่อคน ภาครัฐอาจจะต้องเตรียมงบประมาณถึงราว 432,000 ล้านบาท
Dr. Melba Manapol, Chair of Governing Board of ATCSW กล่าวในประเทศคนที่พิการทางสมองหรือมีปัญหาสุขภาพจิต ว่าในโลกนี้อย่างน้อย 300 ล้านคน มีโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เพศใด วัฒนธรรมใด เศรษฐกิจใด แม้กระทั่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้กลาง กว่า75เปอร์เซ็นต์ของคนในประเทศเหล่านี้ มิได้รับการดูแลรักษา และการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการตายอันดับสี่ ในกลุ่มอายุ 15-19ปี
รอบที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน เรื่อง Same Sex Marriage
การอภิปรายปลายเปิด มีการกล่าวถึงในกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ในทางเศรษฐกิจ และ ในกรณียุโรปเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนกล่าวถึงเรื่องพัฒนาการด้านกฎหมาย และ มีการแชร์ประสบการณ์เล่าถึงชีวิตคู่ในผู้มีความหลากหลายทางเพศในชีวิตที่อยู่รวมยาวนานที่มีความมั่นคง และ มีการแสดงมุมมองของผู้หญิงข้ามเพศพูดเรื่อง สวัสดิการ โดยมีวิทยากรอภิปรายกิตติมศักดิ์ Dr. Anthony Pramualratana รองผู้อำนวยการ ACSDSD ให้เกียรติร่วมบรรยาย และวิทยากรอีก4ท่าน เช่น ในบริบทสุขภาพ ในกรณีการเสียชีวิต และสิทธิต่างๆในมุมมอง สิทธิมนุษยชน และ มีการพูดเรื่องสุขภาพ กายภาพของมนุษย์ เช่นฮอร์โมนส
ทั้งนี้จากการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคมในปัจจุบันและอนาคต จะช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการ มีเวทีระดับนานาชาติที่มีความเป็นมืออาชีพเป็นพื้นที่เปิดให้ นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนา อาจารย์ นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ได้มาแลกเปลี่ยนในเวทีสาธารณะขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน และร่วมสร้างมั่นคงโลก ผ่านความมั่นคงมนุษย์ โดยร่วมกัน"เคารพความหลากหลายผ่านการกระทำทางสังคมร่วมกัน" ทุกภาคส่วนต่างๆ สามารถนำความรู้ แนวทาง และมุมมองแนวคิดจากการเข้าร่วมโครงการไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาแนวทางการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมในอนาคตข้างหน้า และ ขอขอบคุณประเทศไทย ผ่านกระทรวง พม ในฐานะ Hosting Country และ ผู้สนันสนุนทุกหน่วยงานให้มีเวทีเช่นนี้ ปีละครั้งในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทาง
Facebook: ATCSW,
Twitter: ASEANTCSW,
Website: ATCSW,
LinkedIn: http://atcsw-thailand.m-society.go.th/en/sample-page/
ลิ้งค์แนบท้าย
พิธีเปิด การบรรยายปาฐกถา:
https://fb.watch/ju6RTVRZLQ/?mibextid=tejx2t
Credit: the Asia Foundation
การบรรยายทั้ง4 ห้อง
ห้อง 1:
Social Security for Human Security in the Paradigm of Childcare Economy and policy.
https://youtube.com/live/6MlZ9GH8yvU?feature=share
ห้อง 2:
Environmental Sustainability for Human and Global Security.
https://youtube.com/live/ZwO0nQ6jmD8?feature=share
ห้อง 3:
Health Security for Global security (from the pandemic to healthy lifestyles).
https://youtube.com/live/CYxpGbNDJKQ?feature=share
ห้อง 4:
Financial stability for human security
https://youtube.com/live/HtdWpue-drA?feature=share
ไม่มีความคิดเห็น