กรมการพัฒนาชุมชน เปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) เพิ่มศักยภาพ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 3 เมษายน 2566 ณ ห้องฟินิกซ์ 1-4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีนายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนนางรักใจ กาญจนวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี นายณฐกันต์ คงประดิษฐ์ บริษัท เอ็ดโค่ อีเว้นท์ แมเน็จเม้นท์ จำกัด วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมพิธี
“โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา(Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ในวันนี้ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการส่งเสริมให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการ, กลุ่มอาชีพ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 97,913 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 221,302 ผลิตภัณฑ์ในจำนวนนี้แยกเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) จำนวน 175,911 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่น ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรมฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2566 แบ่งเป็น 4 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 963 ราย 2)ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย จำนวน 391 ราย 3) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก จำนวน 369 รายและ 4) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 177 รายโดยมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน และศักยภาพทางการตลาดเพิ่มขึ้น
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการ มีดังนี้เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีช่องทางการตลาดในการอบรมวันนี้ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม Quadrant D ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 32 จังหวัด รวม 433 ราย/กลุ่ม ดำเนินการอบรมเป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2566 ณ ห้องฟินิกซ์ 1-4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
หลักสูตรการอบรม ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ด้านการตลาด 2) การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ 3) การสร้างแบรนด์ 4) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและ การควบคุมคุณภาพสินค้า และ 5)เทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในกิจกรรมการอบรมครั้งนี้
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีการส่งเสริมการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP 97,913 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 221,302 ผลิตภัณฑ์ ในจำนวนนี้แยกเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) จำนวน 175,911 ผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่นไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP กราพัฒนาชุมชน จึงจัดอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน “พัฒนาศักยภาพธุรกิจ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชน” ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับตลาดในยุคปัจจุบันตอบโจทย์ผู้บริโภค การพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยสวยงาม และชวนซื้อ เหมาะแก่เป็นของฝากได้ทุกเทศกาล
โครงการนี้สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ และตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคมากขึ้นปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOPเพื่อพัฒนาทักษะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ำเพิ่มสูงขึ้น ให้มีศักยภาพทาการตลาดเพิ่มขึ้น และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒน (Quadrant D) ให้มีช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนให้เข้มแข็งต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชน จะมีการต่อยอดโครงการโดยการส่งเสริมช่องทางการตลาดออนไลน์กับผู้ผลิตผู้ประกอบการเหล่านี้ รวมถึงการนำสินค้ำไปจำหน่ายในห้าง Modern Trade และช่องทางการาอื่น ๆที่กรมการพัฒนาชุมชนจัดขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จะดำเนินการพัฒนาให้เป็นสินค้ำ Premium เพื่อการส่งออกต่อไป
“โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา(Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ในวันนี้ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการส่งเสริมให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการ, กลุ่มอาชีพ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP โดยปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 97,913 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 221,302 ผลิตภัณฑ์ในจำนวนนี้แยกเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) จำนวน 175,911 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่น ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรมฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2566 แบ่งเป็น 4 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 963 ราย 2)ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย จำนวน 391 ราย 3) ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก จำนวน 369 รายและ 4) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 177 รายโดยมุ่งเน้นการพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐาน และศักยภาพทางการตลาดเพิ่มขึ้น
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการ มีดังนี้เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีช่องทางการตลาดในการอบรมวันนี้ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม Quadrant D ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 32 จังหวัด รวม 433 ราย/กลุ่ม ดำเนินการอบรมเป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2566 ณ ห้องฟินิกซ์ 1-4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
หลักสูตรการอบรม ประกอบด้วย 1) การให้ความรู้ด้านการตลาด 2) การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ 3) การสร้างแบรนด์ 4) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและ การควบคุมคุณภาพสินค้า และ 5)เทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในกิจกรรมการอบรมครั้งนี้
นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีการส่งเสริมการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP 97,913 กลุ่ม/ราย และมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 221,302 ผลิตภัณฑ์ ในจำนวนนี้แยกเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) จำนวน 175,911 ผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่นไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP กราพัฒนาชุมชน จึงจัดอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน “พัฒนาศักยภาพธุรกิจ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชน” ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับตลาดในยุคปัจจุบันตอบโจทย์ผู้บริโภค การพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยสวยงาม และชวนซื้อ เหมาะแก่เป็นของฝากได้ทุกเทศกาล
โครงการนี้สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ และตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคมากขึ้นปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOPเพื่อพัฒนาทักษะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ำเพิ่มสูงขึ้น ให้มีศักยภาพทาการตลาดเพิ่มขึ้น และเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒน (Quadrant D) ให้มีช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนให้เข้มแข็งต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชน จะมีการต่อยอดโครงการโดยการส่งเสริมช่องทางการตลาดออนไลน์กับผู้ผลิตผู้ประกอบการเหล่านี้ รวมถึงการนำสินค้ำไปจำหน่ายในห้าง Modern Trade และช่องทางการาอื่น ๆที่กรมการพัฒนาชุมชนจัดขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จะดำเนินการพัฒนาให้เป็นสินค้ำ Premium เพื่อการส่งออกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น