Breaking News

อนาคตธุรกิจด้านสุขภาพธุรกิจด้านสุขภาพยุคใหม่ที่ต้องการความคล่องตัว รองรับเทคโนโลยีดิจิทัล และมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง

 ​​​​​​​กรุงเทพฯ 15 มิถุนายน 2566 – ในรายงานฉบับล่าสุด The Future of Healthcare เคพีเอ็มจีได้เห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ความท้าทายทางเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทาน การบริโภคที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของตลาด และการบริหารข้อมูลที่มีบทบาทในการก่อให้เกิดประโยชน์ รายงานยังสำรวจว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการให้บริการและการบริโภคบริการด้านสุขภาพในอนาคตได้อย่างไร นอกจากนี้ รายงานยังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลสุขภาพใหม่ๆ ขีดความสามารถและสถาปัตยกรรมขององค์กรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจำเป็นต่อรูปแบบเหล่านี้ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในองค์กรที่ให้บริการสุขภาพ

ธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาล บริการสุขภาพ และโรงแรมเคพีเอ็มจี ประเทศไทย

สัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลง

1. ความเป็นจริงใหม่ (New reality) ของการดูแลลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงเมาจากดิจิทัลดิสรัปชั่น การปฏิรูปการในอุตสาหกรรม และประสบการณ์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการด้านการรักษาพยาบาลยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร ดังนั้นระบบสุขภาพจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น องค์กรด้านสุขภาพที่ให้บริการดูแลเฉพาะบุคคล บริการดิจิทัล และผลิตภัณฑ์ควรวางตำแหน่งทางการตลาดที่ดีกว่าเดิมเพื่อมอบการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียมกันและประสบการณ์ที่ทันสมัย
2. แรงงานในภาวะวิกฤต
วิกฤตแรงงานมีส่วนบั่นทอนการให้บริการด้านสุขภาพในปัจจุบัน เนื่องจากบุคลากรเกิดความเหนื่อยล้าและความเจ็บป่วยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 องค์กรจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของแรงงานทั้งในปัจจุบันและระยะยาว การปรับปรุงการให้บริการสุขภาพให้ทันสมัยโดยลดขั้นตอนที่ใช้แรงงานมากและไม่มีประสิทธิภาพผ่านโซลูชั่นดิจิทัลสามารถช่วยเร่งความก้าวหน้าได้
3. ความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
ผู้นำในระบบสุขภาพต้องมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์สมัยใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน สร้างรูปแบบรายได้ใหม่ๆ และมอบการดูแลที่สะท้อนมลค่าจากการฟื้นตัวทางการเงินจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
4. ตลาดบริการสุขภาพเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจดิจิทัล
ธุรกิจด้านสุขภาพกำลังมีการเปลี่ยนแปลงโดยผู้ให้บริการที่เข้ามาใหม่ เช่น สตาร์ทอัพและองค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ให้บริการระดับโลกจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ขยายธุรกิจมาสู่บริการสุขภาพ ปัจจัยที่มีศักยภาพมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของการให้บริการสุขภาพสำหรับกลุ่ม ‘Disruptor’ หรือกลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ธุรกิจที่ให้บริการแก่ผู้บริโภครายบุคคล หรือ B2C (ร้อยละ 26) การให้บริการด้านห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก (ร้อยละ 22) ผู้ให้ยริการด้านข้อมูล (ร้อยละ 19) โมเดลบริการสุขภาพแบบสมัครสมาชิก (ร้อยละ 17) และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่เข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ในธุรกิจสุขภาพ (ร้อยละ 15) ผู้ให้บริการสุขภาพควรเปิดความร่วมมือกับผู้เล่นที่เข้ามาใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสำหรับบริการสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่ทันสมัย ในขณะที่เน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้บริโภค และการออกแบบระบบใหม่ที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง เพื่อรักษาความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะนี้ที่มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น
5. การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทาน
ผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์และภาวะหลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานด้านการดูแลสุขภาพทั่วโลกชะลอหรือหยุดชะงัก รวมถึงยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ห่วงโซ่อุปทานที่เปลี่ยนแปลงไปมีความอ่อนไหวต่อการการแสวงประโยชน์จากบางกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ระบบสุขภาพต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการรับมือกับการประเมินแบบจำลองทางคลินิกและการดำเนินงานในขณะเดียวกันก็ต้องแข่งขันเพื่อรักษาทรัพยากรที่หายาก
6. เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกและมีคุณค่าที่เชื่อถือได้
ระบบสุขภาพต้องลงทุนเพื่อให้ได้ความสามารถขั้นสูง ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการ และข้อมูลที่รองรับโมเดลใหม่ๆ ของการดูแลสุขภาพเสมือนจริงและการบริการแบบพบเจอ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้องค์กรด้านสุขภาพต้องสร้างรูปแบบการดำเนินงานใหม่ที่ปลดล็อกวิธีการทำงานแบบเดิม ระบบสุขภาพยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ความสามารถในการกำกับดูแลข้อมูลที่แข็งแกร่งและความสามารถในการจัดการจึงจำเป็นในการแปลงข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาลให้เป็นข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะช่วยให้สามารถคาดการณ์ วางแผน และตัดสินใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยได้รับข้อมูลทั้งจากความเสี่ยงและค่านิยมหลัก
พลิกโฉมการดูแลสุขภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
1. บริการด้านสุขภาพที่เข้าถึงง่าย – ให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของการดูแลสุขภาพ
ความคาดหวังของผู้บริโภคในบริการสุขภาพเพิ่มขึ้นจากประสบการณ์ดิจิทัลและการระบาดของโควิด-19 บริการสุขภาพดิจิทัลที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางควรผนวกเข้ากับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน โมเดล 'ตามความต้องการ' (Demand-driven) ส่วนบุคคลเหล่านี้ให้อำนาจแก่ผู้บริโภคในการกำหนดว่าพวกเขาจะแสวงหาและรับการดูแลเมื่อใดและอย่างไร บริการดิจิทัลยังเปิดประตูสู่รายได้ที่หลากหลายมากขึ้น กฎระเบียบและระบบการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดศักยภาพในการกำหนดประสบการณ์ใหม่ของผู้บริโภค ปรับปรุงการเข้าถึง และลดค่าใช้จ่ายในบริการสุขภาพ
2. บริการด้านสุขภาพผ่านระบบ Meta – การดูแลสุขภาพในเมตาเวิร์สพร้อมแล้วสำหรับความเป็นจริงใหม่
ปัจจุบัน มีแพลตฟอร์มการดูแลเสมือนที่ปฏิวัติวงการ ซึ่งมีความสามารถด้านดิจิทัลขั้นสูง เช่น คลาวด์และ AI หลายรูปแบบ ตั้งแต่การให้บริการขั้นพื้นฐานไปจนถึงการดูแลที่ซับซ้อน การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยและ AI การแปลขั้นสูงซึ่งเปลี่ยนวิธีการจัดส่งพยาธิวิทยา รังสีวิทยา และการดูแลผู้ป่วยหนัก นวัตกรรมเหล่านี้สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญสูง ปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัย และการตัดสินใจทางคลินิก และเพิ่มความยืดหยุ่นในการให้บริการและการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ คาดว่า Web 3.0 จะปฏิวัติการบริการสุขภาพ ส่วนสำคัญของ Web 3.0 คือ metaverse ที่ซึ่งความจริงทางกายภาพและดิจิทัลผสานกันในขอบเขตที่ไร้พรมแดน เสนอศักยภาพในการยกระดับชีวิตผู้คนด้วยโอกาสใหม่ๆ โดยใช้ความจริงเสมือนและความจริงเสริม รายงาน The Future of Healthcare ของเคพีเอ็มจี แสดงให้เห็นว่า AI และ Machine Learning (ร้อยละ 27) ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะและหุ่นยนต์ (ร้อยละ 22) 5G และ Internet of Things (ร้อยละ 19) คลาวด์และเอดจ์คอมพิวติ้ง (ร้อยละ 15) และความปลอดภัยทางไซเบอร์ (ร้อยละ 15) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดและมีศักยภาพมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านการดูแลสุขภาพ
3. ระบบสุขภาพชุมชน – สนับสนุนการครอบคลุมและการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ
บริการสุขภาพแบบไฮเปอร์โลคัลเน้นรูปแบบการควบคุมโดยชุมชน เพื่อปรับปรุงความเสมอภาคด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือทางภาษา โมเดลบางประเภท เช่น หน่วยงานด้านสุขภาพของชนพื้นเมืองในแคนาดา และองค์กรด้านสุขภาพที่ควบคุมโดยชุมชนในออสเตรเลีย เป็นเจ้าของ ปกครอง และจัดการโดยกลุ่มชุมชนเฉพาะ แบบจำลองเหล่านี้อยู่ในจุดที่ตอบสนองต่อบริบทด้านการดูแลสุขภาพของชุมชน ให้การดูแลในลักษณะที่ปลอดภัยและเหมาะสมตามวัฒนธรรม และมุ่งเน้นแนวทางที่กำหนดเป้าหมายไปยังเกณฑ์ชี้วัดสุขภาพทางสังคม แบบจำลองด้านการดูแลสุขภาพแบบไฮเปอร์โลคัลสามารถใช้ชุดข้อมูลหลายชุดเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกระดับประชากรที่ทันท่วงทีและมีรายละเอียด เมื่อพูดถึงการส่งมอบการดูแล โดยทั่วไปโมเดลแบบไฮเปอร์โลคัลจะเหมาะที่สุดสำหรับการดูแลเบื้องต้น การป้องกัน และความเป็นอยู่ที่ดี ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการเป็นนายหน้าในการดึงดูดพันธมิตรสำหรับบริการบางอย่าง เช่น การดูแลในระดับตติยภูมิ หรือการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือคลินิกโดยแพทย์เฉพาะทาง
“ปัจจุบัน ระบบนิเวศการดูแลสุขภาพได้เปลี่ยนสู่ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางและต้องการการสนับสนุนที่จำเป็นจากเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้น องค์กรด้านการดูแลสุขภาพทุกแห่งจึงต้องกำหนดนโยบายและสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานของตนนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการและบริการเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง องค์กรด้านการดูแลสุขภาพที่ปรับตัวไม่ได้เร็วพอ อาจมีความสามารถในการแข่งขันลดลง”




ไม่มีความคิดเห็น