สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ในวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยในปีนี้มีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร 1,687 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ 10 คน ผู้สำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิต 19 คน ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ทั้งบัณฑิตและมหาบัณฑิต รวมทั้งสิ้น 1,531 คน ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ อาทิ
นายชวน หลีกภัย เข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์
นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
นางมัณฑนา อยู่ยั่งยืน ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
และนายสุรเชษฐ์ เฟื่องฟู ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ เป็นต้น
นายชวน หลีกภัย เข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์
นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
นางมัณฑนา อยู่ยั่งยืน ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
และนายสุรเชษฐ์ เฟื่องฟู ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ เป็นต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน จำนวน 18 แห่ง ประกอบด้วย คณะ 3 คณะ ได้แก่ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ คณะศิลปศึกษา และ คณะศิลปวิจิตร วิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่ง และวิทยาลัยช่างศิลป 3 แห่ง จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับพื้นฐานวิชาชีพถึงวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ ช่างศิลป์ และทัศนศิลป์ ทั้งไทยและสากล รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ทำการสอนการแสดง ทำการวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ตลอดจนอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน สร้างสรรค์ ทะนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายชองชุมชนในท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น