กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ นำสื่อมวลชนร่วมทำข่าวประชาสัมพันธ์หน่วยงานกองทัพเรือ พื้นที่ในอ.สัตหีบจ.ชลบุรี”
ในระหว่างวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2566 กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ได้นำคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางเดินทางมาทำข่าวประชาสัมพันธ์กองทัพเรือ ประจำปี 2566 ในพื้นที่ภาคตะวันออก ณ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อร่วมทำข่าวประชาสัมพันธ์เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ให้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงานในกองทัพเรือ ที่ดำเนินงานในด้านต่างๆ อาทิ พิธีรับเรือลากจูงขนาดกลาง , โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) , พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย , อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม , ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ , ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัด กองทัพเรือ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆในพื้นที่สัตหีบ
- ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ โดย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอ สัตหีบ จังหวัด ชลบุรี ได้มีการจัดตั้งหน่วยกำลัง เป็นลักษณะค่ายทหารตามพื้นที่รับผิดชอบภายในประกอบด้วย อาคารที่ทำการ บ้านพักข้าราชการ โรงครัว โรงประกอบเลี้ยง ตลาด สนามกีฬา และพื้นที่ฝึก มีลักษณะเป็นชุมชนที่สมบูรณ์ในตัว อันมีปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการเกิดปัญหาสุนัขจรจัดในพื้นที่โดยง่าย เช่น แหล่งอาหาร พื้นที่หลบซ่อน ช่วงเวลาปฏิบัติงานของกำลังพล รวมถึงการขาดความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงสุนัข มีผล ทำให้เกิดช่องว่างในการควบคุม ทั้งในเรื่องของขอบเขตและจำนวนของสุนัขที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมา การประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์รับเลี้ยงสุนัขจรจัด หรือสัตวแพทย์ของหน่วยราชการ มีไม่เพียงพอ จึงทำให้ปัญหามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากสุนัขจรจัด เช่น โรคพิษสุนัขบ้า อุบัติเหตุบนเส้นทางสัญจร การเพิ่มจำนวนของสุนัข และเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยราชการและสภาพแวดล้อมของชุมชนภายในค่ายรวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสุนัข อันเป็นเป้าหมายหลักนโยบายของกองทัพเรือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจึงจัดทำโครงการดูแลสุนัขจรจัดขึ้น โดยใช้ชื่อ “ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ โดย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน” ค่ายกรมหลวงชุมพร ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามหลักวิชาการ หลักคุณธรรม หลักจริยธรรม แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของกำลังพลให้รับทราบถึงปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนรวมในการรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกWorld Society for the Protection ofAnimals (WSPA) ให้ความสำคัญ เกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์ 5 ภารกิจ หนึ่งในนั้น ได้แก่ การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง มีสาระสำคัญในเรื่อง การควบคุมประชากรสัตว์จรจัดอย่างมีคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกองทัพเรือ โดยมี พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวาณิชย์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการสุนัขจรจัดได้กำหนดนโยบายให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ ดำเนินการและจัดตั้งศูนย์ดูแลสุนัขจรจัด จำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัด กองเรือยุทธการ , ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ,ศูนย์ดูแลสุนัขจรศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ โดยวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ประกอบด้วย สามารถควบคุมจำนวนและควบคุมชีวิตของสุนัขให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ขจัดมลภาวะและผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากสุนัขจรจัดต่อชุมชน สามารถเพิ่มโอกาสให้กับสุนัขในการกระจายออกสู่สังคมภายนอก สามารถเพิ่มความรู้ให้กับบุคคลที่เลี้ยงสุนัขและเพิ่มพูนความรับผิดชอบต่อสุนัขอย่างแท้จริง สามารถบริหารจัดการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทัพเรือ กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือโดยมี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานกรรมการ และมีคณะอนุกรรมการจำนวน 2 คณะ ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการจัดหารายได้ และบริหารกองทุนโดยมี รองเสนาธิการทหารเรือ (สายงานกิจการพลเรือน) เป็นประธานอนุกรรมการและคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ โดยมีผู้อำนวยการ สำนักจิตวิทยากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นประธานอนุกรรมการ โดยทั้งนี้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมและร่วมบริจาคเงิน สิ่งของจำเป็นให้ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดกองทัพเรือทั้ง 3 แห่ง ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการกรมรักษาฝั่งที่ 1 ได้จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง "โคก หนอง นา โมเดล" ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในพื้นที่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์เป็นต้นแบบให้กำลังพลของหน่วยและครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป นักเรียน ใช้เป็นแนวทางและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสานรักษาและต่อยอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ได้ให้ความสำคัญและให้นโยบายในการดำเนินโครง การ ศูนย์การเรียนรู้ เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนักเพื่อสืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณา พระราชทานไว้ ให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของกำลังพลของหน่วยและครอบครัวตลอดจนประชาชนที่เข้ามาเรียนรู้ได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำความรู้ทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้สู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมและอาชีพหลักได้ เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของผู้นำชุมชนและประชาชน ทำให้เกิดความรักความสามัคคี เสริมสร้างให้ชุมชนเข็มแข็ง และ เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มีกิจกรรมหลากหลายต่างๆ เช่น สาธิตการเลี้ยงหมู ,การเลี้ยงไก่,การทำเกษตรต่างๆ,การเลี้ยงกระต่าย,การเลี้ยงปลา ฯลฯ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ สอ.รฝ. เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชม ตั้งแต่เวลา 08.00-1730 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ สอ.รฝ. ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษจำหน่ายในราคาถูกโดยเปิดขายทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการระหว่างเวลา 0900-1800 น.
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ
แต่เดิมกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้สัมปทานเอกชนดำเนินการเก็บไข่เต่าทะเล ตาม ชายหาดและเกาะต่างๆ พ.ศ.๒๔๙๓ กองทัพเรือ ได้ออกประกาศตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยทางราชการ และให้สงวนบริเวณสถานีทหารเรือสัตหีบบางส่วน ไว้เป็นเขตปลอดภัยยังนั้นกรมประมงได้มอบการเก็บไข่ เต่าทะเล ในบริเวณเขตปลอดภัย ให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการ กองทัพเรือ จึงได้ดำเนินการอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเล ดังนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ กองทัพเรือ มอบหมายให้ กรมอุทกศาสตร์เป็นหน่วยแรกที่ดำเนินการ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๑ กรมอุทกศาสตร์ จึงได้โอนให้ สถานีทหารเรือสัตหีบ เป็นผู้ดำเนินการ แต่เนื่องจากผู้บัญชาการสถานีทหารเรือสัตหีบ ในขณะนั้น ได้แก่ พล.ร.ต.อนันต์ เนตรโรจน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองการฝึก กองเรือยุทธการ อีกตำแหน่งหนึ่ง จึงได้ลงคำสั่งให้ กองการฝึก กองเรือยุทธการ เป็นผู้ดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงจัดตั้ง “โครงการสมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่า ทะเล“ ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะมันใน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สถานีอนุรักษ์เต่าทะเลของกรมประมงแห่งนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ จำนวน ๒ นาย มาร่วมดำเนินการเพาะฟักและเพาะเลี้ยงพันธุ์เต่าทะเล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ
กองทัพเรือได้ให้การสนับสนุน โครงการ สมเด็จอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ด้วยการส่งลูกเต่าทะเลปีละ ๔,๐๐๐ ตัว (ลูกเต่าตนุ ๓,๐๐๐ ตัว และลูกเต่ากระ ๑,๐๐๐ ตัว ) ไปให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลของกรมประมง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กองทัพเรือได้ส่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เต่าทะเล จำนวน ๙ ตัว ให้สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน ไปเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ด้วย พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพเรือได้อนุมัติให้ ฐานทัพเรือสัตหีบโดย กรมต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รับผิดชอบการดูแลเกาะครามแทน กองการฝึกกองเรือยุทธกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ กองทัพเรือได้มุ่งเน้นและขยายผลการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนา สภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนา สภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งกองทัพเรือขึ้น มี รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการโดย ตำแหน่ง มอบหมายให้มีหน้าที่สำคัญคือ กำหนดเป้าหมาย นโยบาย รวมทั้งอำนวยการประสานงานและกำกับดูแลการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมในทะเล และชายฝั่ง ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามันให้้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำสั่งนโยบายในการอนุรักษ์์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของกองทัพเรือ ได้กำหนดให้ งานอนุรักษ์ พันธุ์เต่าทะเลอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเล โดยมี หน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยปฏิบัติ เมื่อ ๑๗ ต.ค.๔๔ กองทัพเรือ ได้ยกเลิกคณะกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ และได้จัดงานการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องเข้าไว้เป็นสายงานปกติของกองทัพเรือ โดยมีกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นฝ่ายอำนวยการ สำหรับงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลโดยตรงนั้น มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยดำเนินการ ทั้งนี้เป็นไปตามการปฏิบัติของ ทร. ตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทาง ทะเล ภายใต้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๒ มิ.ย.๔๔ ในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ที่ กำหนดให้ กองทัพเรือเป็นหน่วยปฏิบัติหน่วยหนึ่งของรัฐ พ.ศ.๒๕๓๗ กองทัพเรือ ได้ยกเลิกการจำหน่ายไข่เต่าทะเล ซึ่งเคยจำหน่ายบางส่วนที่ี่เหลือจากการนำมาเพาะฟักดำเนินการเพาะฟักทั้งหมด ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเลตั้งอยู่ในเขตฐานทัพทหารเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ภายในศูนย์มีการส่งเสริมการอนุรักษ์เต่าทะเล และบ่ออนุบาลเต่าเล็กก่อนปล่อยลงสู่ทะเล มีห้องนิทรรศการ แสดงเต่าทะเล ตั้งแต่อยู่ในไข่จนถึงวัยเจริญพันธุ์ การอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลสัตหีบ ของกองทัพเรือ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในอดีตการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และได้ดำเนินงานเฉพาะในเรื่องการเพาะไข่เต่ารวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลและเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีวันที่ 17 ตุลาคม 2544 กองทัพเรือได้ยกเลิกคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ต่างๆ นำงานด้านการอนุรักษ์ทั้งหมดที่กองทัพเรือที่เกี่ยวข้องไว้เป็นสายงานปรกติโดยมีกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ตั้งเป็นหน่วยงานอำนวยการในด้านการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลนี้โดยตรงมี หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นผู้ดำเนิน การปฏิบัติตามแผนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบายการรักษาความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในสัตหีบ การมาเยี่ยมชมศูนย์แห่งนี้จะทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของเต่าทะเล ซึ่งเราจะได้รับรู้ข้อมูลของเต่าชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงมีบ่อเลี้ยงเต่าที่แยกออกมาเป็นช่วงอายุต่าง ๆ ให้ได้ชมด้วย โดยที่ภายนอกอาคารของศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลแห่งนี้ ยังเป็นชายหาดของหน่วยทหาร และมีการตกแต่งให้เข้ากับบรรยากาศ สามารถถ่ายรูปกับรูปปั้นเต่าได้ด้วย ไม่อนุญาตให้ลงเล่นน้ำ ของที่ระลึกก็สามารถหาซื้อได้จากที่นี่ด้วยเช่นกัน ศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้อยู่ในเขตของบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม ทัพเรือภาคที่ 1
เมื่อปี 2536 กองทัพเรือได้มอบหมายให้ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเล พร้อมทั้งให้ผู้บัญชาการกองเรือป้องกันฝั่ง เป็นประธานคณะอนุกรรมการดำเนินงาน โครงการอุทยานใต้ทะเลพื้นที่สัตหีบและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในเบื้องต้นได้กำหนดพื้นที่เกาะขามเป็นเป้าหมายแรก ในการจัดทำเป็นอุทยานใต้ทะเล เนื่องจากเกาะขาม ประกอบด้วยระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมและลักษณะทางอุทกศาสตร์สมบูรณ์ในระดับที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของปะการังและเป็นพื้นที่ที่ไม่ห่างไกลจากฝั่งมากนัก มีความสะดวกในการเดินทางต่อมาเมื่อ ปี 2552 กองทัพเรือปรับโครงสร้าง ปรับยุบกองเรือป้องกันฝั่ง โดยยกระดับกองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็น ทัพเรือภาคที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ พร้อมกับมอบหมายให้ทำหน้าที่เดิมของกองเรือป้องกันฝั่ง ด้วย ส่งผลให้เกาะขาม อยู่ในความดูและของทัพเรือภาคที่ 1
เกาะขาม เป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแสมสาร ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากอำเภอสัตหีบ ประมาณ 9 กิโลเมตร เกาะขามมีรูปร่างคล้ายกับตัว H มีพื้นที่ประมาณ 61 ไร่ ชายหาดของเกาะขามมี 2 บริเวณใหญ่ๆ คือ ทางด้านทิศเหนือและทางด้านทิศใต้ ชายหาดด้านทิศเหนือเป็นหาดทรายค่อนข้างละเอียด เหมาะสำหรับการว่ายน้ำและการสันทนาการทางน้ำ ส่วนทางด้านทิศใต้ เป็นหาดทรายหยาบ มีหินกรวดมดลักษณะรูปร่างต่างๆ กระจายอยู่เต็มทั่วชายฝั่งลึกลงไปในน้ำทะเลบริเวณพื้นที่ของเกาะขามจะพบกับแนวปะการังอันอุดมสมบูรณ์กระจายตัวอยู่รอบ ๆ เกาะ บริเวณที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ทางทิศใต้ มีแนวปะการังเขากวาง ปะการังโต๊ะ และปะการังสมอง ส่วนมากแนวปะการังอยู่ในเขตน้ำตื้น ในระดับ 3 - 6 เมตร จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำท่องเที่ยว ทั้งแบบผิวน้ำ และแบบน้ำลึก นอกจากนี้ในแนวปะการังแห่งนี้ยังพบปลาทะเลที่สวยงาม ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน ปลาอมไข่ ปลาปะการัง และปลารวมฝูง เช่น ปลาหางเหลือง นอกจากนี้ยังพบสัตว์ทะเลอื่นๆ ได้แก่ หอยมือเสือ หอยมือแมว ดอกไม้ทะเล ปลาอินเดียแดง กุ้ง และปู ชนิดต่างๆ ดาวขนนก เม่นทะเล และปลิงทะเล ที่มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเกาะขาม
จุดเด่นของอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม นอกจากจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นแล้ว ยังเป็นสถานที่แห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการเคลื่อนย้ายปะการังที่กำลังจะเสื่อมโทรมจากมลภาวะบริเวณเกาะเตาหม้อมาลงไว้ที่เกาะขาม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างแนวปะการังในบริเวณที่เสริมโทรม และตายไปให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายปะการังนี้ ได้ดำเนินการโดยกำลังพลกองทัพเรือและนักดำน้ำอาสาสมัคร ทั้งนี้โดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา จากการติดตามประเมินผลปรากฏว่า ปะการังส่วนใหญ่ยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้และเจริญเติบโต เพื่อสร้างแนวปะการังเสื่อมโทรมให้ฟื้นคืนสู่สภาพ ที่สมบูรณ์เหมือนเดิม โดยตลอดเวลาที่ผ่านมามี นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป สนใจขอเข้าเยี่ยมชม อุทยานใต้ทะเลเกาะขามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทัพเรือภาคที่ 1 ได้จัดวิทยากรบรรยายให้แก่คณะผู้เยี่ยมชม เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางทะเล พื้นที่ปะการังรอบเกาะขามมีพื้นที่ปะการัง ทั้งสิ้น 83,000 ตารางเมตร โดยแยกเป็นประเภท ปะการังเขากวาง 50,000 ตารางเมตร ปะการังก้อน 30,000 ตารางเมตร ปะการังโต๊ะ 3,000 ตารางเมตร จากการสำรวจในเบื้องต้น มีปะการังที่ดีราว 20,000 ตารางเมตร และปะการังเสียหายประมาณ 60,000 ตารางเมตร โดยในส่วนที่เสียหายนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างปะการังแล้วเป็นพื้นที่ 14,300 ตารางเมตร แต่อย่างไรก็ตามปะการังในส่วนที่ดีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร นั้นได้รับความเสียหายตายไป เป็นบางส่วน ทั้งนี้เนื่องจากสาหร่ายเซลล์เดียวซูซานเทลลี่ซึ่งอาศัยร่วมอยู่ในโครงสร้างปะการัง และเป็นผู้ผลิตออกซิเจนให้กับปะการังได้ตายไป โดยมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิของน้ำที่ร้อนขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์เอลนินโญ่ เหลือปะการังที่ไม่ได้รับผลกระทบ และยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เต็มที่ ประมาณ 4,000 ตารางเมตร และจากการสำรวจในเดือน ธันวาคม 2541 นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่าปะการังบางส่วนเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว จึงเป็นที่น่าดีใจว่า ปะการังเหล่านี้จะได้รับการปกป้องไม่ให้ถูก ทำลายจากมนุษย์ และจะกลายคืนสู่สภาพสวยงามเหมือนเดิม แต่เมื่อปี 2553 ด้วยสภาวะอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้ปะการังเริ่มฟื้นตัวบางส่วนแล้วนั้น รวมทั้งปะการังที่ได้ทำการอนุบาลไว้ด้วยท่อพีวี เกิดการฟอกขาวเสียชีวิตไปเกือบร้อยละ 70 ของพื้นที่ และนอกจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลกระทบกับแนวปะการังแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่กระทำในพื้นที่เกาะขาม เช่น การเดินเรือ การจอดเรือ การดำน้ำ การทิ้งขยะ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ยังส่งผลกระทบกับแนวปะการังโดยตรงอีกด้วย ซึ่งเดิมโครงการอุทยานใต้ทะเลเกาะขามได้มีการวางทุ่นสำหรับผูกเรือ ป้องกันการทอดสมอทำลายแนวปะการัง และวางทุ่นหมายเขตแนวปะการังเพื่อกำหนดช่องทางการเดินเรือ ป้องกันไม่ให้เรือแล่นเข้าไปในหมู่ปะการังน้ำตื้น รวมทั้งในอดีตได้มีการสร้างท่อรับน้ำจืด ไว้บริเวณหัวเกาะด้านทิศตะวันออก ในการส่งน้ำจืดเรือส่งน้ำจะเกยหาดด้านทิศตะวันออก แล้วส่งน้ำไปตามท่อลำเลียงเพื่อกักเก็บไว้ใช้บนเกาะ แต่ปัจจุบันทุ่นผูกเรือ ทุ่นหมายเขตแนวปะการัง รวมทั้งท่อรับน้ำจืดชำรุดเสียหายตามอายุการใช้งาน เมื่อจำเป็นต้องส่งน้ำจืด หรือแม้แต่การรับ - ส่งคนขึ้นบนเกาะ เรือต่าง ๆ ต้องนำเรือผ่านแนวปะการังเข้าทางด้านที่เป็นหาดทรายหน้าเกาะทิศเหนือ จึงทำให้แนวปะการังเสียหายไปบางส่วน และนอกเหนือจากความสวยงามของธรรมชาติใต้ท้องทะเลแล้ว เกาะขามยังมีพื้นที่ป่าชายหาดที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด อาทิ จันผาที่มีอายุกว่า 100 ปี พรมตีนสูง ที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปตามเส้นทางรอบ ๆ เกาะ ซึ่งเหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติของเยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่สนใจในความหลากหลายทาง ชีววิทยาของป่าชายหาดเป็นอย่างยิ่ง
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดําริ บนเกาะแสมสาร
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอ สัตหีบ จังหวัด ชลบุรี เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทยก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่อง มาจากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2503 ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนา และทรงให้รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวนจิตรลดา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวพระราชดำริ และสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระองค์
โดยปรากฏในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยกิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ การสำรวจรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมเพาะปลูก และรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ และปลอดภัยจากการรุกราน การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช โครงการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืชในด้านต่างๆ ให้ทราบองค์ประกอบ คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์พืชพรรณ การจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชด้วยคอมพิวเตอร์ การวางแผน และพัฒนาพันธุกรรมพืชระยะยาว 30 - 50 ปี และกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ให้มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติ และสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่เกี่ยวกับ "ปัจจัยสี่" อันเป็นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงนับได้ว่าพันธุ์ไม้เหล่านี้มีความผูกผันกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านานนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประโยชน์ที่เคยได้รับจากพรรณพืชอาจแปรไปตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความต้องการของสังคม และผู้บริโภค การสำรวจค้นคว้า และวิจัยตามหลักวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ ดังที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ดำเนินการอยู่ในขณะนี้จึงสามารถทำให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลายชนิดซึ่งบางชนิดเป็นที่รู้จักแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนปริมาณลดลงและเกือบสูญพันธุ์จากถิ่นกำเนิดพืชบางชนิดมีมาช้านานแต่มิได้เป็นที่ล่วงรู้ถึงคุณประโยชน์ จนอาจถูกละเลย หรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ได้ดำเนินการเบื้องต้นเมื่อปี 2540 คณะสำรวจของ ดร.พิศิษฐ วรอุไร ทำการสำรวจบริเวณเกาะแสมสาร จากการสำรวจของคณะปฎิบัติงานบริหารงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้ศึกษาเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยร่วมกับกองทัพเรือและเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้แล้ว มีความเห็นสรุปว่า "เกาะแสมสาร" เป็นเกาะที่มีความเหมาะสมที่จะทำการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เนื่องจากมีความหลากหลายของพันธุ์พืช และในปี 2541 ทางกองทัพเรือมีความพร้อมทั้งหน่วยงานและพื้นที่ จึงขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยอนุมัติแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่กองทัพเรือเสนอโดยทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติม
ถนนบนเกาะแสมสาร
- ผู้ใหญ่ คนละ 300 บาท ชาวต่างชาติคนละ600บาท
- เด็ก คนละ 200 บาท ( อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
ซึ่งราคานี้จะแบ่งออกเป็น
- ค่าเรือโดยสารไป-กลับระหว่างท่าเรือหมาจอกับเกาะแสมสาร
- ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะเช่นห้องอาบน้ำ,ห้องสุขา
- รถท่องเที่ยวบนเกาะ
- รถจักรยานขี่ท่องเที่ยวบนเกาะ
- หน้ากากดำน้ำรวมทั้งชูชีพ
- ค่าเรือท้องกระจกนั่งดูปะการัง
เรือโดยสารของสวัสดิการกองทัพเรือออกเดิทางจากท่าเรือเขาหมาจอพานักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวยังเกาะแสมสารทุกวันไม่มีวันหยุดโดยเรือเที่ยวแรกจะออกจากท่าเรือเขาหมาจอเวลา08.30นและจะเดินทางไปกลับทุกๆ2ชั่วโมงเรือเที่ยวสุดท้ายจะออกจากท่าเรือเกาะแสมสารกลับสู่ท่าเรือเขาหมาจอเวลา16.00น.
การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติเกาะแสมสารติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ โทร./Fax 038-432471, 038-432473,038-432475
- เด็ก คนละ 200 บาท ( อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
ซึ่งราคานี้จะแบ่งออกเป็น
- ค่าเรือโดยสารไป-กลับระหว่างท่าเรือหมาจอกับเกาะแสมสาร
- ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะเช่นห้องอาบน้ำ,ห้องสุขา
- รถท่องเที่ยวบนเกาะ
- รถจักรยานขี่ท่องเที่ยวบนเกาะ
- หน้ากากดำน้ำรวมทั้งชูชีพ
- ค่าเรือท้องกระจกนั่งดูปะการัง
เรือโดยสารของสวัสดิการกองทัพเรือออกเดิทางจากท่าเรือเขาหมาจอพานักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวยังเกาะแสมสารทุกวันไม่มีวันหยุดโดยเรือเที่ยวแรกจะออกจากท่าเรือเขาหมาจอเวลา08.30นและจะเดินทางไปกลับทุกๆ2ชั่วโมงเรือเที่ยวสุดท้ายจะออกจากท่าเรือเกาะแสมสารกลับสู่ท่าเรือเขาหมาจอเวลา16.00น.
การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติเกาะแสมสารติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ โทร./Fax 038-432471, 038-432473,038-432475
ไม่มีความคิดเห็น