สสส.-กทม. หนุน เครือข่าย “เป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม” สร้างวัฒนธรรมปลอดภัยทางถนนมุ่งเป้าเขตสาทร-บางรัก ร่วมพัฒนา ถนนสาทร ให้เป็นถนนปลอดอุบัติเหตุต้นแบบ เปิดแคมเปญสุดปัง “ระวังหมดอายุ” ชวนสะกิดเตือนกันด้วยรักและห่วงใย
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตสาทร นายธนันท์ชัย เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายแผนงาน สำนักงานการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้บริหารเขตสาทร ผู้อำนวยการเขตบางรัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ก่อการดีเครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม จากทุกภาคส่วน
ร่วมกันแถลงข่าวเปิดกิจกรรมเชิงรุกและมาสคอต ผึ้งน้อยเป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม เพื่อชวนคนไทยมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “ระวังหมดอายุ STAY SAFE “ มุ่งปลุกกระตุ้นทุกคนที่ใช้ถนนสาทร เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาถนนสาทร ให้เป็นถนนปลอดอุบัติเหตุต้นแบบ สะกิดเตือนกันด้วยความรัก ความปลอดภัย ให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเพื่อกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยทุกวัน และทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึกและผู้นำเยาวชนขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวสสส. มุ่งขับขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ของสังคม สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม หวังที่จะเห็นงานความปลอดภัยทางถนน เป็นงานที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับทุกคน การจะทำให้ถนนบ้านเรามีความปลอดภัย เพื่อเราทุกคน มีหลากหลายองค์ประกอบ ทั้ง ด้านคน-รถ-ถนน-สภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ ต้องแก้ทุกองค์ประกอบจึงจะทำให้เกิดความปลอดภัย ทำให้วัฒนธรรมของความปลอดภัยทางถนน เกิดเป็นวิถีและวัฒนธรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน กิจกรรมและแคมเปญระวังหมดอายุ จึงเป็นจุดสตาร์ทที่ดี ที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของทุกคน ในการช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพื่อร่วมสร้างถนนสาทร ให้เป็นถนนปลอดอุบัติเหตุต้นแบบ
“ข้อมูลจากสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา และทุ่งมหาเมฆ เบื้องต้นพบว่าในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบนถนนสาทรไปแล้วถึง 335 ครั้ง และเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 10 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ และผู้เสียชีวิตอยู่ในวัยหนุ่มสาวและคนทำงานถนนสาทรเป็นถนนที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่ใจกลางของ กทม. มีการเดินทางสัญจรและมีความหนาแน่นของประชากรค่อนข้างมาก และมุ่งหวังที่จะทำให้พื้นที่ถนนสาทร กลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ทั้งผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไรเดอร์ รถโดยสารสาธารณะ ตลอดจนผู้ใช้ทางเดินเท้า หากสามารถร่วมกันทำให้ปลอดอุบัติเหตุได้ ก็จะส่งแรงกระเพื่อมขยายผลพื้นที่ ไปยังถนนเส้นอื่นและเขตอื่นๆ ใน กทม. และขยายผลต่อในหัวเมืองสำคัญทั่วประเทศต่อไป” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ดร. อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทางสังคมประเทศไทย และประธานเครือข่าย เป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม กล่าวว่า จากสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ที่ยังคงสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก คือปีละ 2 หมื่นคน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน หรือ ชั่วโมงละ 2 คน โดยกว่าครึ่งเป็นเยาวชนไทย และมีผู้บาดเจ็บพิการจากอุบัติเหตุปีละประมาณ 500,000 ราย สร้างผลกระทบต่อทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ อย่างมหาศาล โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องสูญเสียคนที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วม โดยควบคู่ไปกับการรณรงค์ของภาคส่วนต่างๆ หัวใจสำคัญคือการสร้างความตระหนักให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก
“ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เครือข่าย เป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม มุ่งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการใช้รถใช้ถนน (Co-Creating Road Seafty Culture) มีการเตือนตนเอง เตือนคนที่เรารัก และรักเรา ด้วยความปรารถนาดี ห่วงใย เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยอยู่เสมอ การเปิดตัวแคมเปญระวังหมดอายุ เพื่อพัฒนาให้ถนนสาทรเป็นถนนปลอดอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้เปิดตัวมาสคอต ผึ้งน้อยเป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม ที่จะช่วยย้ำเตือนให้ทุกคนระมัดระวังในการขับขี่ และมีการเปิดตัวเพลงฮิตติดหูในการรณรงค์ “เพลงระวังหมดอายุ” เพื่อย้ำเตือน และสะกิดให้ทุกคนระมัดระวัง และใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยตลอดเวลา ด้วย 4 เตือน คือ ระวังความเร็ว ระวังทางข้าม ระวังทางแยก และระวังน็อก คือให้สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้งที่ขับขี่ หรือ ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ” ดร. อุดม กล่าว
ดร. อุดม กล่าวต่อว่า เครือข่าย เป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม และแคมเปญ “ระวังหมดอายุ STAY SAFE ได้รับการตอบรับจากกรุงเทพมหานครและหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป มีแผนที่จะจัดกิจกรรมเชิงรุกในเขตพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรักอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยไฮไลท์ เชิญชวนทุกคนมาร่วมแสดงความคิดเห็นใน Mini Exhibition ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2566 ณ สกายวอล์กช่องนนทรี และในวันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นวันรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางท้องถนน นอกจากนี้จะมีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร การถอดบทเรียน และพัฒนากิจกรรม แคมเปญ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียนและสังคมในวงกว้างได้อย่างแท้จริง
เครือข่ายเป็นหู เป็นตา เพื่อสร้างสังคม เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน สนับสนุนโดย สสส. ประกอบด้วยผู้ก่อการดีทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคประชาชน ที่ต่างเห็นความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้น รวมถึงหน่วยงานที่ขับเคลื่อนความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน เช่น มูลนิธิเมาไม่ขับ องค์กรสนับสนุนป้องกันอุบัติเหตุจราจร ขอเชิญชวนประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยติดต่อได้ที่ Facebook เป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม
ร่วมกันแถลงข่าวเปิดกิจกรรมเชิงรุกและมาสคอต ผึ้งน้อยเป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม เพื่อชวนคนไทยมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “ระวังหมดอายุ STAY SAFE “ มุ่งปลุกกระตุ้นทุกคนที่ใช้ถนนสาทร เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาถนนสาทร ให้เป็นถนนปลอดอุบัติเหตุต้นแบบ สะกิดเตือนกันด้วยความรัก ความปลอดภัย ให้ทุกคนระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเพื่อกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยทุกวัน และทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึกและผู้นำเยาวชนขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนน
“ข้อมูลจากสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา และทุ่งมหาเมฆ เบื้องต้นพบว่าในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุบนถนนสาทรไปแล้วถึง 335 ครั้ง และเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 10 คน โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ และผู้เสียชีวิตอยู่ในวัยหนุ่มสาวและคนทำงานถนนสาทรเป็นถนนที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่ใจกลางของ กทม. มีการเดินทางสัญจรและมีความหนาแน่นของประชากรค่อนข้างมาก และมุ่งหวังที่จะทำให้พื้นที่ถนนสาทร กลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ทั้งผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไรเดอร์ รถโดยสารสาธารณะ ตลอดจนผู้ใช้ทางเดินเท้า หากสามารถร่วมกันทำให้ปลอดอุบัติเหตุได้ ก็จะส่งแรงกระเพื่อมขยายผลพื้นที่ ไปยังถนนเส้นอื่นและเขตอื่นๆ ใน กทม. และขยายผลต่อในหัวเมืองสำคัญทั่วประเทศต่อไป” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
ดร. อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทางสังคมประเทศไทย และประธานเครือข่าย เป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม กล่าวว่า จากสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ที่ยังคงสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก คือปีละ 2 หมื่นคน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน หรือ ชั่วโมงละ 2 คน โดยกว่าครึ่งเป็นเยาวชนไทย และมีผู้บาดเจ็บพิการจากอุบัติเหตุปีละประมาณ 500,000 ราย สร้างผลกระทบต่อทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ อย่างมหาศาล โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องสูญเสียคนที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วม โดยควบคู่ไปกับการรณรงค์ของภาคส่วนต่างๆ หัวใจสำคัญคือการสร้างความตระหนักให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก
“ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เครือข่าย เป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม มุ่งสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการใช้รถใช้ถนน (Co-Creating Road Seafty Culture) มีการเตือนตนเอง เตือนคนที่เรารัก และรักเรา ด้วยความปรารถนาดี ห่วงใย เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยอยู่เสมอ การเปิดตัวแคมเปญระวังหมดอายุ เพื่อพัฒนาให้ถนนสาทรเป็นถนนปลอดอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้เปิดตัวมาสคอต ผึ้งน้อยเป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม ที่จะช่วยย้ำเตือนให้ทุกคนระมัดระวังในการขับขี่ และมีการเปิดตัวเพลงฮิตติดหูในการรณรงค์ “เพลงระวังหมดอายุ” เพื่อย้ำเตือน และสะกิดให้ทุกคนระมัดระวัง และใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยตลอดเวลา ด้วย 4 เตือน คือ ระวังความเร็ว ระวังทางข้าม ระวังทางแยก และระวังน็อก คือให้สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้งที่ขับขี่ หรือ ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ” ดร. อุดม กล่าว
ดร. อุดม กล่าวต่อว่า เครือข่าย เป็นหู เป็นตา เพื่อสังคม และแคมเปญ “ระวังหมดอายุ STAY SAFE ได้รับการตอบรับจากกรุงเทพมหานครและหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป มีแผนที่จะจัดกิจกรรมเชิงรุกในเขตพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรักอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยไฮไลท์ เชิญชวนทุกคนมาร่วมแสดงความคิดเห็นใน Mini Exhibition ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2566 ณ สกายวอล์กช่องนนทรี และในวันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นวันรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางท้องถนน นอกจากนี้จะมีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร การถอดบทเรียน และพัฒนากิจกรรม แคมเปญ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียนและสังคมในวงกว้างได้อย่างแท้จริง
เครือข่ายเป็นหู เป็นตา เพื่อสร้างสังคม เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน สนับสนุนโดย สสส. ประกอบด้วยผู้ก่อการดีทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และภาคประชาชน ที่ต่างเห็นความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้น รวมถึงหน่วยงานที่ขับเคลื่อนความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน เช่น มูลนิธิเมาไม่ขับ องค์กรสนับสนุนป้องกันอุบัติเหตุจราจร ขอเชิญชวนประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยติดต่อได้ที่ Facebook เป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม
ไม่มีความคิดเห็น