"มูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนาราชกัญญา จัดการประชุมเต่าทะเลนานาชาติ ครั้งที่ 42 ณ เมืองพัทยา"
วันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 น. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะ รองประธานกรรมการมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา เป็นประธานเปิดการประชุมเต่าทะเลนานาชาติ ครั้งที่ 42 โดยมีพลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยฯ พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา และผู้แทนจากหน่วยงานสนองพระดำริ ร่วมในพิธีเปิดครั้งนี้ ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานีพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
การจัดการประชุมเต่าทะเลนานาชาติ ครั้งที่ 42 เป็นการจัดประชุมในระดับนานาชาติเป็นประจำทุกปี โดยสมาคมอนุรักษ์เต่าทะเลนานาชาติ เพื่อรวบรวมนักวิชาการ นักวิจัย นักอนุรักษ์ นักเรียนนักศึกษา และผู้ที่สนใจเต่าทะเล มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์เต่าทะเลทั่วโลก โดยในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดียิ่งในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการอนุรักษ์เต่าทะเลระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเมืองพัทยาและประเทศไทยออกสู่นานาประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24-29 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมดุสิตธานีพัทยา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
สำหรับรูปแบบการจัดการประชุมประกอบด้วย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการประชุมย่อยโดยแบ่งตามภูมิภาค การประชุมย่อยเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือการอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการนานาชาติ การจัดนิทรรศการของมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยฯ การออกบูธของร้านค้าและหน่วยงานด้านอนุรักษ์ การประชุมคณะกรรมการสมาคมเต่าทะเลโลก การทัศนศึกษา ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ รายการประกวดวาดภาพเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเล ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดประชุมในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ผลงานด้านอนุรักษ์ต่อทะเลและทรัพยากรทางทะเลของมูลนิธิ เปิดโอกาสให้นักวิชาการนักอนุรักษ์และผู้อื่นสนใจต่อตนเองในประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักวิชาการและนักอนุรักษ์จากนานาชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาและผลักดันการอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทยในอนาคต ส่งเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายความร่วมมือด้านอนุรักษ์เต่าทะเลภายในประเทศไทยระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ นักวิชาการ และนักอนุรักษ์จากมหาชาติจะมีโอกาสได้รับรู้การทำงานด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทยและภูมิภาค และสามารถประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองพัทยารวมถึงจังหวัดอื่นๆในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น