"เสริมศักดิ์” ชูไทยเป็นศูนย์กลางผลิตภาพยนตร์ของอาเซียน จับมือสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐ เอกชน เตรียมจัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 9 วันที่ 28 – 31 มี.ค.นี้ ขับเคลื่อน Soft Power ด้านภาพยนตร์ ส่งเสริมความร่วมมือ ขยายตลาดภาพยนตร์อาเซียนสู่นานาชาติ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) มีนโยบายขับเคลื่อน Soft Power อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 11 ด้าน รวมถึงด้านภาพยนตร์ตามนโยบายรัฐบาล และมุ่งผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางในการผลิตภาพยนตร์ของภูมิภาคอาเซียน และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอาเซียน รวมทั้งขยายตลาดภาพยนตร์อาเซียนสู่ระดับนานาชาติ ดังนั้น วธ.ได้ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชนจัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Asean Film Festival 2023-BAFF 2023) ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 28 - 31 มีนาคม 2567 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า กิจกรรมภายในงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 9 มีการจัดฉายภาพยนตร์ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 24 เรื่อง เข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก ภาพยนตร์อาเซียนฉายโชว์ (SHOWCASE : ASEAN PLUS) 7 เรื่อง ได้แก่ 1. Abang Adik มาเลเซีย 2. Dreaming & DyingSingapore อินโดนีเซีย 3. Inside the Yellow Cocoon Shell เวียดนาม สิงคโปร์ ฝรั่งเศสและสเปน 4. Morrison ประเทศไทยและฝรั่งเศส 5. Nowhere Near ฟิลิปปินส์และเม็กซิโก 6. Oasis of NowMalaysia สิงคโปร์และฝรั่งเศส 7. Tiger StripesMalaysia ไต้หวัน สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อินโดนีเซียและกาตาร์ กลุ่มที่สอง ภาพยนตร์อาเซียนทรงคุณค่า (ASEAN CLASSIC) ได้แก่ 1. ชู้ (The Adulterer) ประเทศไทย 2. สุดสาคร (The Adventure of Sudsakorn) ประเทศไทย
นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า กลุ่มที่สาม ภาพยนตร์สั้นอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในกิจกรรมการประกวด ASEAN Short Film Competition ครั้งที่ 4 มี 15 เรื่อง ได้แก่ 1.Basri & Salma in Never-ending Comedy อินโดนีเซีย 2. Chomp It! สิงคโปร์ 3. Cross My Heart and Hope To Die ฟิลิปปินส์ 4.ด้วยรักและอาลัย (Dear You) ประเทศไทย 5.หอมสุวรรณ (Did you see the hole that mom dig?) ประเทศไทย 6. Everybody's Gotta Love Sometimes เมียนมาร์ ฝรั่งเศสและอินโดนีเซีย 7. FIX ANYTHING เวียดนาม 8. Goodnight Baby เวียดนาม 9. HITO ฟิลิปปินส์ 10. Once Upon A Time There Was A Mom เมียนมาร์ 11. The Pair of Canaries เวียดนาม 12. Primetime Mother ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ 13. Season of Rains and Scallops เวียดนาม 14. A Tale of the Crocodile's Twin อินโดนีเซีย และ15. walk walk สิงคโปร์ ซึ่งกิจกรรมการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียนพิจารณาตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทยและต่างประเทศ มีรางวัล ได้แก่ รางวัล Best ASEAN Short Film รางวัล Jury Prize และ รางวัล Special Mention ซึ่งแต่ละรางวัลจะได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ มีกิจกรรมประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน (SEAPITCH : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) ครั้งที่ 4 คัดเลือกโครงการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว โดยผู้ผลิตภาพยนตร์จากภูมิภาคอาเซียนที่มีความคิดในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีโครงการสร้างภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัล 7 โครงการ ได้แก่ 1. A Ballad of Long Hair ความร่วมมืออินโดนีเซียและสิงคโปร์ 2.The Intruder อินโดนีเซีย 3. The Nesting Hour อินโดนีเซีย 4.The Passport มาเลเซีย 5. The Silence and Stealth of the a Hungry Cat ฟิลิปปินส์ 6. Weed Season ประเทศไทย และ 7.What the/hel/เวียดนาม และพิจารณาตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทยและต่างประเทศ มีรางวัล ได้แก่ 1.รางวัล SEAPITCH Award
2.รางวัล Runner-Up Prize และ3.รางวัล SPECIAL MENTION ซึ่งแต่ละรางวัลจะได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัล จะมีพิธีประกาศรางวัลและปิดเทศกาลในวันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยจัดฉายภาพยนตร์ปิดเทศกาล เรื่อง Morrison (2023,ประเทศไทยและฝรั่งเศส) ผลงานการกำกับของพุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ภาพยนตร์ทั้ง 24 เรื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียน ทุกเรื่องมีบทบรรยายภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เข้าชมฟรีทุกเรื่องทุกรอบ ผู้สนใจลงทะเบียนจองบัตรชมภาพยนตร์ล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ www.baff.go.th และเพจเฟซบุ๊ก Bangkok Asean Film Festival สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัฒนธรรม 1765
ไม่มีความคิดเห็น