“จ๊อบไทย” เผยเทคนิคลงประกาศงาน “มัดใจคนหางาน”
การสรรหาบุคลากรถือเป็นหน้าที่สำคัญของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ซึ่งการหาพนักงานที่ทั้งมีศักยภาพและเข้ากับบริษัทได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ โดยเฉพาะในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่บริษัทเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกคนแต่คนหางานเองก็สามารถเลือกบริษัทที่คิดว่าเหมาะกับเขาหรืองานที่สนใจและต้องการจริง ๆ ได้เหมือนกัน โดยจากฐานข้อมูลของจ๊อบไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 พบว่ามีผู้หางานใช้งานแพลตฟอร์มจ๊อบไทยสูงขึ้น 34.78% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในเดือนมกราคมมีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านคน และจำนวนบริษัทที่มาลงประกาศรับสมัครงานถึง 17,383 บริษัท (ข้อมูลเฉลี่ยต่อเดือน) แสดงให้เห็นว่าในการสรรหาบุคลากรของบริษัทต้องมีการแข่งขันกันเพื่อดึงดูดให้คนหางานจำนวนมากให้สนใจสมัครงานกับบริษัทนั่นเอง
ซึ่งประกาศงานก็เป็นสิ่งแรกที่ทำให้คนหางานจะได้รู้จักกับบริษัทของเรา และยังเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของคนหางานเป็นอย่างมากว่าจะส่งใบสมัครมาสมัครงานกับบริษัทหรือไม่ ดังนั้นยิ่งเราสามารถเขียนประกาศงานที่มีประสิทธิภาพและน่าสนใจได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้รับใบสมัครมากขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันก็มีหลายบริษัทที่ไม่ได้เขียนประกาศงานอย่างละเอียดและรอบคอบ ทำให้เกิดปัญหาคนไม่สนใจสมัครงานกับบริษัท ตลอดจนคนเข้ามาทำงานได้ไม่นานก็โบกมือลาบริษัทในเวลารวดเร็ว เพราะรู้สึกว่าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบไม่สัมพันธ์กับเงินเดือน หรือเข้ามาแล้วเจอในสิ่งที่ไม่คาดคิด ดังนั้น นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการของจ๊อบไทย (JobThai) แพลตฟอร์มหางาน สมัครงาน และหาบุคลากรที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดอันดับ 1 ของประเทศไทย จึงได้เผยเทคนิคที่จะช่วยดึงดูดให้คนหางานสนใจอยากสมัครงานกับบริษัทมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีการเขียนประกาศงานยังไงให้โดนใจคนทำงาน
การทำประกาศงานนั้นต้องมีความน่าสนใจ ยิ่งไม่เหมือนใครยิ่งดี เพราะในขณะที่ฝั่ง HR มองหาเรซูเม่ที่โดดเด่นจากคนหางาน ด้านคนหางานเองก็อาจจะมองข้ามประกาศงานที่ธรรมดาและไม่น่าสนใจได้เหมือนกัน ดังนั้น HR ควรสร้างประกาศงานที่แตกต่างไปจากประกาศงานอื่น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนหางานให้มากขึ้น โดยการเขียนประกาศงานควรใส่ข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ชื่อตำแหน่งงาน เป็นส่วนที่คนหางานจะมองเห็นเป็นอันดับแรก ซึ่งชื่อตำแหน่งงานที่ดีควรแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน และควรเลือกใช้ชื่อที่เข้าใจง่าย เช่น วิศวกรโยธา, เจ้าหน้าที่จัดซื้อ, HR Payroll หรือวงเล็บรายละเอียดเพิ่มเติมเล็กน้อยไว้หลังชื่อตำแหน่งก็ได้ เช่น หัวหน้าฝ่ายผลิต(อาหารแช่แข็ง), เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนา(เครื่องสำอาง/อาหารเสริม), Web Programmer (Full Stack)หน้าที่และงานที่ต้องรับผิดชอบ ควรประกอบไปด้วยสิ่งที่ต้องทำและเป้าหมายที่คาดหวัง ซึ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบควรเขียนให้กระชับและเข้าใจง่ายและควรเขียนให้ครบถ้วนให้คนที่กำลังหางานรับรู้ว่าถ้าจะเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้เขาจะต้องเจอกับหน้าที่อะไรบ้างคุณสมบัติ ทักษะ และความสามารถ เป็นส่วนที่ควรเขียนให้ครบถ้วนและชัดเจน ทั้งทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานโดยตรงที่ผู้ต้องการสมัครงานควรมี เช่น ประสบการณ์และความรู้ความชำนาญในสายงานนั้น ทักษะที่ต้องใช้ในการทำงานอย่างการนำเสนอ ทักษะการสื่อสาร หรือความคิดสร้างสรรค์ และควรเขียนให้เจาะจงและลงรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น แทนที่จะเขียนว่า “มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์” ก็ระบุให้ชัดเจนไปเลยว่า “สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Word และ Microsoft Excel หรือโปรแกรมที่ต้องการ” ลงไปแทนหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานร่วมกัน การระบุว่าตำแหน่งงานที่กำลังเปิดรับสมัครนั้นอยู่แผนกอะไร และต้องทำงานร่วมกับแผนกไหนบ้าง จะทำให้ผู้สมัครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าเขาต้องทำงานยังไง ต้องประสานงานกับใคร และเข้าใจหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบได้มากขึ้น
เงินเดือนและสวัสดิการ เงินเดือนเป็นอีกส่วนสำคัญในประกาศงานที่จะสามารถดึงดูดผู้สมัครได้ ซึ่งเราอาจระบุเงินเดือนเป็นช่วงเงินเดือนลงไปในรายละเอียดตำแหน่งงานแทนการบอกจำนวนที่ชัดเจนเพียงจำนวนเดียว เพราะจะช่วยให้ประกาศรับสมัครงานของเราสามารถแข่งขันกับตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันได้ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เจอกับคนที่มีทักษะ ประสบการณ์ และการศึกษาที่หลากหลาย ในขณะที่สวัสดิการที่ดี นอกจากจะดึงดูดให้คนอยากมาร่วมงานกับเราแล้วยังมีส่วนช่วยในการรักษาพนักงานปัจจุบันไว้กับบริษัทอีกด้วย
นอกจากการเขียนประกาศงานที่ครบถ้วนแล้ว การสร้างประกาศงานให้โดดเด่นด้วยการสื่อสารแบรนด์ขององค์กร (Employer Branding) ไม่ว่าจะเป็น ประวัติคร่าว ๆ ของบริษัท รูปโลโก้บริษัท บรรยากาศการทำงาน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ เช่น Outing ประจำปี, กีฬาสีภายใน, กิจกรรมเพื่อสังคม สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดคนหางานได้อย่างมาก ซึ่งประกาศงานของ จ๊อบไทยนั้นมีหน้า Premium Company Profile หรือพื้นที่สำหรับสื่อสารองค์กร โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แนะนำองค์กรผ่านรูปภาพและวิดีโอ นำเสนอเรื่องราวและข้อมูลขององค์กรที่บ่งบอกความตัวตนด้วยภาพและวิดีโอซึ่งจะช่วยสร้างการรับรู้และจดจำองค์กรได้มากยิ่งขึ้น เช่น วิดีโอบรรยากาศในการทำงานจริง อัลบั้มรูปมุมต่าง ๆ ภายในออฟฟิศ ส่วนที่ 2 บทความแนะนำองค์กร บอกเล่าประวัติองค์กร Vision และ Mission ขององค์กร หรือบทความสัมภาษณ์พนักงานแชร์ประสบการณ์ทำงานในองค์กรหรือเล่าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ให้ละเอียดขึ้นก็จะช่วยให้คนทำงานได้รับรู้เรื่องราวของบริษัทมากขึ้น ส่วนที่ 3 แนะนำสินค้าและบริการ นำเสนอรูปภาพและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพื่อให้คนทำงานเห็นภาพของธุรกิจได้ชัดเจนและเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะยิ่งองค์กรของเรามีภาพจำในเชิงบวกก็ยิ่งดึงดูดให้คนอยากเข้ามาทำงานด้วยนั่นเอง
โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่จ๊อบไทย(JobThai) อีเมล support@jobthai.com โทรศัพท์ 02-480-9999 หรือเข้าไปที่ www.jobthai.com
ไม่มีความคิดเห็น