Breaking News

กระทรวงวัฒนธรรมปลื้มงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติในหลวงวันสุดท้ายประชาชนไทย – ต่างชาติ ร่วมชมความงดงามอลังการโดรน 1,200 ลำ เฉลิมพระเกียรติ ชุดการแสดง”พระราชปณิธานเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย” วธ.มอบโล่ 60 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ขอบคุณทุกภาคส่วนสนับสนุนจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ - สมพระเกียรติ เผยยอดคนไทย – ต่างชาติร่วมชมการแสดง – ซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมตลอด 5 วัน เกือบ 5 แสนคน เผยสามารถสร้างรายได้แก่ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปิน นักแสดง ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และร้านอาหาร กว่า 173 ล้านบาท

  

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีมอบโล่ขอบคุณหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนางลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม คณะกรรมการจัดงาน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่สนับสนุนการจัดงาน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ท้องสนามหลวง



นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวว่า  รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 11 - 15 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ              ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย            มีการจัดริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯ 26 ขบวน และผู้เข้าร่วมกว่า 3,000 คน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ สวนแสงเฉลิมพระเกียรติฯ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีเฉลิมพระเกียรติ ตลาดวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ การสาธิตอาหารย้อนยุคและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งการจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯได้มีประชาชนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งหมด 60 หน่วยงาน ได้แก่ 1.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม              2.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 3.สำนักพระราชวัง 4.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 5.กรุงเทพมหานคร                      6.กองทัพบก 7.กองทัพเรือ 8.กองทัพอากาศ 9.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 10.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                  11.กระทรวงคมนาคม (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร) 12.กรมประชาสัมพันธ์ 13.การไฟฟ้านครหลวง            14.การประปานครหลวง 15.บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 16.บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด                  17.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 18.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 19.มหาวิทยาลัยมหิดล 20.มหาวิทยาลัยรังสิต21.มหาวิทยาลัยศิลปากร 22.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 23.กรมการค้าภายใน 24.กรมปศุสัตว์ 25.กรมประมง26.กรมหม่อนไหม 27.กรมการพัฒนาชุมชน 28.กรมทรัพย์สินทางปัญญา 29.สมาคมนักข่าวธุรกิจ   30.กระทรวงกลาโหม 31.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 32.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 33.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 34.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 35.กระทรวงพลังงาน 36.กระทรวงพาณิชย์ 37.กระทรวงมหาดไทย 38.กระทรวงยุติธรรม 39.กระทรวงแรงงาน 40.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม 41.กระทรวงศึกษาธิการ 42.กระทรวงสาธารณสุข 43.กระทรวงอุตสาหกรรม44.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 45.มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ 46.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 47.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 48.ธนาคารออมสิน 49.บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 50.กลุ่มบริษัทบีเจซี บิ๊กซี 51.บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด 52.บริษัทปูนซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) 53.บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด 54.สมาคมเยาวชนจิตอาสาพัฒนา 55.เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 56.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 57.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 58.สมาคมธนาคารไทย 59.สมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย และ 60.สมาคมอุปรากรจีน“วธ.ขอขอบคุณทุกหน่วยงานและทุกภาคส่วนที่ร่วมสนับสนุนการจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ             




ทำให้การจัดงานเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติ พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียนรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและร่วมกันสืบสาน รักษาและต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมของชาติและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยไปสู่นานาชาติ ช่วยส่งเสริมการเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างงานสร้างรายได้ไปสู่ประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ” นางยุพา กล่าว 




ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ภายในงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานมีการแสดง “สิงโตบนเสาดอกเหมยเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” การแสดง “มังกรเบิกฟ้า 72 พรรษามหามงคล ใต้ร่มบรมโพธิสมภาร” บริเวณหน้าเต็นท์นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การแสดงดนตรี “แผ่นดินธรรมแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบารมี” เป็นการแสดงดนตรีออร์เคสตร้าร่วมกันของนักดนตรี 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต การแสดงนาฏศิลป์โขนสดใต้ร่มพระบารมี ตอน ศึกทศกัณฐ์ยกรบ และตอน ยักษ์บรรลัยกัลป์ออกศึก การแสดง”ศิลปะร่วมสมัยเทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการแสดงประกอบแสง สี เสียงและสื่อผสม สะท้อนแนวคิดการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 10 รัชกาล 

นอกจากนี้ มีการแสดงอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1,200 ลำ ชุด “พระราชปณิธานเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย” ประกอบด้วย 11 ภาพ ได้แก่ ภาพที่ 1 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงน้อมนำแนวพระราชดำริและพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมาทรงปฏิบัติ ทรงแสดงความมุ่งมั่นพระราชหฤทัยที่จะทรง”สืบสาน รักษา ต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ภาพที่ 2 พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆภาพที่ 3 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญ และกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ภาพที่ 4 “โขน”เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงที่เก่าแก่ของไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และ “โขน” ได้รับการยกย่องจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกให้เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ” ในปีพ.ศ. 2561 ภาพที่ 5 “โนรา” หรือ “มโนราห์” เป็นศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาช้านาน และ “โนรา” ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ” ในปีพ.ศ. 2564  ภาพที่ 6 “นวดไทย” เป็นศาสตร์และศิลป์ของการดูแลสุขภาพที่มุ่งแก้ไขความผิดปกติของธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟในร่างกาย ภาพที่ 7 ประเพณีสงกรานต์ 

คนไทยยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย”ในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนกลับมาอยู่รวมกันกับครอบครัวและมีกิจกรรม เช่น การสรงน้ำพระ การรดน้ำผู้ใหญ่ การเล่นน้ำ การละเล่น เป็นต้น และ “สงกรานต์”   ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ” ในปี พ.ศ. 2566 ภาพที่ 8  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการเกษตร เสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร

ภาพที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน”โครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” แนวทางหลักของโครงการโคกหนองนา ปรากฏอยู่ในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ อันเป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ภาพที่ 10 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ท่ามกลางการเปล่งเสียง”ทรงพระเจริญ”จากประชาชนชาวไทยที่พร้อมใจสวมใส่เสื้อสีเหลืองมารอเข้าเฝ้าฯ และภาพที่ 11 ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 




นอกจากนี้ยังมีการแสดงของศิลปินเพียว The voice เปาวลี พรพิมลและนิวคันทรี่ และตลาดวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ของดีสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร อาหารไทย อาหารถิ่น และผลิตภัณฑ์จากเครือข่ายวัฒนธรรม การสาธิตอาหารในรูปแบบตลาดย้อนยุค เช่น อาหารไทยโบราณ อาหารชาววัง อาหารพื้นถิ่น และสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า จากความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน และเครือข่าย ทางวัฒนธรรมมากกว่า 60 หน่วยงาน โดยมีนักแสดง ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินร่วมสมัยได้มีพื้นที่นำเสนอผลงานและร่วมแสดง 3,225 คน ซึ่งวธ.ขอขอบคุณทุกหน่วยงานและสื่อมวลชนทุกแขนงที่ให้ความร่วมมือจัดงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมของงานเป็นอย่างดี ทำให้การจัดงานมีเด็ก เยาวชนและประชาชนสนใจเข้าร่วมงาน ณ ท้องสนามหลวง และรับชมกิจกรรมผ่านทางสื่อออนไลน์ อาทิ Facebook live ของกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมเกือบ 5 แสนคน และได้รับรายงานว่าจากการจัดงานดังกล่าว เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปิน นักแสดง ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และร้านอาหาร กว่า 200 บูธ ในพื้นที่การจัดงานสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ รวมกว่า 173 ล้านบาท ถือเป็นการร่วมกันสืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้เกิดความยั่งยืน สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนทั่วประเทศได้อย่างแท้จริง





ไม่มีความคิดเห็น