Breaking News

ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์@อ่างทอง

  ย่างเข้าสู่ช่วงฤดูฝนต้นเดือนกรกฏาคม 2567 ใกล้วันเข้าพรรษาวันสำคัญทางพุทธศาสนาเข้ามาทุกทีแล้ว ในระหว่างวันที่ 30มิถุนายน 2567ที่ผ่านมานายอภิวัฒน์ ทับทิมโต ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานอ่างทอง-สุพรรณบุรีร่วมกับนาย กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.) และบริษัทเมืองไทยครีเอทีฟได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์@อ่างทอง”ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในช่วงก่อนเทศกาลสำคัญวันเข้าพรรษาที่กำลังจะมาถึงปลายเดือนกรกฏาคมที่กำลังมาถึงโดยเริ่มจากจ.อ่างทองซึ่งเป็นจังหวัดขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนักสามารถเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว
สำหรับนักท่องเที่ยวในทริปนี้ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวสายมู+ส.ว จะเน้นท่องเที่ยวทำบุญไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และถวายเทียนเข้าพรรษาก่อนเทศกาลเข้าพรรษาที่กำลังจะมาถึงนี้ในช่วงปลายเดือนนี้
สำหรับวัดแห่งแรกที่คณะของเราสายมูจะเดินทางไปถวายเทียนพรรษาก็คือ
- วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกษไชโย ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรี ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้มาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2430 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยวรวิหาร แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากฐานพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว ความสูง 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว พระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้น องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างาม พุทธศาสนิกชนจากที่ต่าง ๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหารมีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่มีความงามสมบูรณ์ยิ่ง
หลวงพ่อโต





ถวายเทียนพรรษา
แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดไชโยวรวิหาร
 คณะของเราโดยการนำของคุณ กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)ทำการถวายเทียนพรรษาและรับศีลรับพรจากเจ้าอาวาสของวัดไชโยวรวิหารเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางต่อไปยังที่สองคือ
วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ในตำบลอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง วัดโบราณแห่งนี้ถูกสร้างชึ้นมาในสมัยสุโขทัย เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่มีชื่อว่า “พระศรีเมือง” มีความใหญ่และยาวถึง 50 เมตร องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงามพระพักตร์ยิ้มแย้มใย สงบเยือกเย็น น่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นยิ่งนัก


นอกจากนั้นภายใน “วัดขุนอินทประมูล” ยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ที่เหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และในศาลาเอนกประสงค์มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ที่พบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะมีนักท่องเที่ยวและชาวบ้านละแวกใกล้เคียงนิยมมาทำบุญ กราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลกันเป็นจำนวนมาก




ถวายเทียนพรรษา
12.00น.ได้เวลาอาหารกลางวันคณะของเราแวะมารับประทานอาหารกลางวันกันที่ร้านอาหาร “นิรมิตร” ข้างตลาดศาลเจ้าโรงทองริมแม่น้ำน้อยในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
 สำหรับเมนูอาหารที่ขึ้นชื่อลือชาที่อยากจะแนะนำของร้านนิรมิตรก็คือ “ปูหลน”ที่หลายๆคนมาแล้วเป็นต้องสั่งมารับประทานกันแทบทุกโต๊ะนอกจากนี้ยังมี ปลากะพงนึ่งซีอิ้ว,เป็ดย่างฯลฯ






มาเที่ยวอำเภอวิเศษไชยชาญแล้วก็อย่าลืมแวะมารับประทานอาหารที่ร้านนิรมิตร ผมรับประกันในเรื่องรสชาติของความอร่อยครับนอกจากเมนูอาหารที่อร่อยแล้วทางร้านนิรมิตรยังเป็นร้านที่ผลิตจำหน่ายขนมไทยโบราณหลายอย่างอีกด้วย สนใจติดต่อสอบถามเส้นทางได้ที่ 39/3หมู่7ใกล้ศาลเจ้าโรงทองอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองโทร 081-8524777,035-631052

นายอภิวัฒน์ ทับทิมโต ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานอ่างทอง-สุพรรณบุรี
นาย กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)
หลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายอภิวัฒน์ ทับทิมโต ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานอ่างทอง-สุพรรณบุรีและนาย กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)ได้ขึ้นกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกท่านที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์@อ่างทองในครั้งนี้ด้วยความยินดีเป็นอย่งยิ่ง
ก่อนเดินทางไปยังวัดต่อไปคณะของเราแวะช้อปปิ้งกันที่ตลาดศาลเจ้าโรงทองอยู่ติดกับร้านนิรมิตรมีขนมพื้นบ้านให้เลือกซื้อมากมายโดยเฉพาะขนมเกสรลำเจียกเป็นขนมพื้นบ้านโบราณที่ขึ้นชื่อลือชื่อของชาวอำเภอวิเศษชัยชาญในเรื่องรสชาติของความอร่อย “ขนมเกสรลำเจียก” ถือได้ว่าเป็นขนมพื้นบ้านที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดอ่างทองตัวขนมจะคล้ายดอกลำเจียก สีสันสวยงาม รสชาติที่หอมหวานกลมกล่อม ตัวแป้งเหนียวนุ่ม ตัวไส้ทำมาจากมะพร้าวอ่อน ๆ มีกลิ่นหอม แต่งสีและกลิ่นจากน้ำใบเตย ห่อด้วยแป้งข้าวเหนียวที่ผ่านการอบควันเทียน แล้วทำไปร่อนบนกะทะ สัมผัสถึงความหอมหวานตั้งแต่ตัวแป้งจนถึงไส้ ในทุก ๆ คำที่กินไป จนทำให้ “ขนมเกสรลำเจียก” เป็นขนมโบราณที่มีความอร่อย ครองใจคนที่ชื่นชอบกินขนมโบราณ และหากินได้ยากในปัจจุบันนี้ขายในราคาถาดละ 35 บาท 3 ถาด100 คณะของเราช้อบปิ้งขนมกันสุดเหวี่ยงโดยลืมเรื่องโรคเบาหวานถามหาน้ำตาลพุ่งกระฉูดไปชั่วขณะ



ขนมเกสรลำเจียก


จากตลาดศาลเจ้าโรงทองคณะของเราเดินทางต่อมายังวัดม่วงในจังหวัดอ่างทอง
- วัดม่วง ตั้งอยู่ ม.6 ต.หัวสะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 8 กิโลเมตร จากกรุงเทพ ไปตามถนนสายเอเชีย แล้วเข้าตัวเมืองอ่างทอง ผ่านตลาดแล้วเลี้ยวขวาผ่านหน้าเรือนจำจะเจอทางแยกเลี้ยวซ้าย (ไปสุพรรณบุรี) ไปตามเส้นทางสาย โพธิ์พระยา-ท่าเรือ วัดม่วงจะอยู่ทางซ้ายมือ โดยสังเกตได้จากจะเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่งกว้าง


หลวงพ่อใหญ่” หรือ “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 63 เมตร สูง 95 เมตร
ในปี 2534 ท่านพระวิบูลอาจารคุณ ร่วมกับประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อน้อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยให้พระนามว่า “พระพุทธมหานมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” วางศิลาฤกษ์โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณคาราม กรุงเทพฯ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย



ถวายเทียนพรรษาวัดม่วง



เจ้าแม่กวนอิมที่วัดม่วง
ข้อมูลวัดม่วง
การเดินทางไปยัง วัดม่วง นั้น จะอยู่ไม่ห่างจากอำเภอเมืองเลย เพราะอยู่ไปแค่ประมาณ 8 กิโลเมตรเท่านั้น สามารถเดินทางไปตามเส้นถนนอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ หรือ ถนนทางหลวงหมายเลข 3195 ได้เลย โดยจะอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 29 ตรงเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะเจอวัดอยู่ทางซ้ายมือ
ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
พิกัด : https://goo.gl/maps/Tu664GcsYDyCrTf98
เปิดให้เข้าชม : 06.00-18.00 น.
โทร : 0-3563-1556 , 0-3563-1974
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/WatmuangAngthong/

คณะของเราโดยการนำของคุณ กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)ทำการถวายเทียนพรรษาและรับศีลรับพรนานเป็นพิเศษจากเจ้าอาวาสของวัดม่วงเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางต่อไปยังที่สี่คือ
- วัดจันทรังสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 บ้านนา วัดแห่งนี้มีพื้นที่สองฝั่งถนน ฝั่งหนึ่งมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า หลวงพ่อโยก และอีกฝั่งของถนน เป็นที่ตั้งของ "วิหารหลวงพ่อสด" องค์ใหญ่ที่สุดในโลก องค์หลวงพ่อสดทำจากโลหะปิดทองคำเหลืองอร่ามทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร 9 นิ้ว สูง 9.9 เมตร มีความงดงามมาก เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยพระธรรมรัตนากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นผู้จุดประกายการก่อสร้าง นอกจากนี้ ท่านได้สร้างองค์สมมติพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเจ้าแม่กวนอิม ปางพันมือสี่หน้า สูง 5 เมตร 8 นิ้ว แกะสลักจากไม้หอมขนาดใหญ่จากประเทศจีน โดยอัญเชิญเข้ามาประเทศไทยประดิษฐาน ณ วัดจันทรังษี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552
วิหารหวงพ่อสด
วิหารหลวงพ่อสด
คณะของเราโดยการนำของคุณ กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)ทำการถวายเทียนพรรษาและรับศีลรับพรจากเจ้าอาวาสภายในวิหารหลวงพ่อสดของวัดจันทรังสี่เป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้นจึงออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
รูปหล่อหลวงพ่อสด



ระหว่างเดินทางกลับเข้าสู่กรุงเทพฯคุณ กันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย(สธทท.)พาคณะของเราแวะเที่ยวชม - “ลานอิสรภาพ” หรือ ลานอิสรภาพ ๑๐๙ ตั้งอยู่บนพื้นที่มีประมาณ 200 ไร่ ในตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในพระอิริยาบถทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพความสูงจากพระบาทถึงพระเศียร ๑๐๙ เมตร ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีขนาดสูงที่สุดในประเทศไทย และอาจเป็นอนุสาวรีย์องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยด้วย
“ลานอิสรภาพ” สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือลานอิสรภาพ ๑๐๙ คือชื่ออันหมายถึง “ความเป็นใหญ่ ความเป็นไทแก่ตัว การปกครองตนเอง” ตัวเลข ๑๐๙ นี้ถือได้ว่าตัวเลขมหามงคล สื่อถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ที่ทำให้ปวงชนชาวไทยรู้สึกมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต และอบอุ่นใจที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ โดยคุณถวัลย์ เมืองช้าง เป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อสร้างองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ สถานที่แห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงประกาศอิสรภาพกอบกู้เอกราชและศักดิ์ศรีคืนความเป็นไทยให้กับคนไทยทั้งชาติ และเพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาส ทรงขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี




อีกทั้งเพื่อให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สำหรับอนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และเกิดความรักสามัคคีและความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติ เกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของประเทศและบูรพมหากษัตริย์ไทย และยังเป็นสถานที่เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งใหม่ของประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง


บึงน้ำขนาดใหญ่ภายในลานอิสระภาพ

การเดินทางไปลานอิสรภาพ ๑๐๙
ลานอิสรภาพ ๑๐๙ ตั้งอยู่ที่ ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ห่างจากตัวจังหวัด 11 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 16 นาที เวลาทำการเปิด – ปิด เปิดทุกวัน เวลา 8.00 – 18.00 น.
สำหรับกิจกรรม“ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์@อ่างทอง”ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็น กิจกรรมของนักท่องเที่ยวสายมูก่อนเทศกาลวันเข้าพรรษาที่จะเดินทางมาถึงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ จังหวัดอ่างทองซึ่งเป็นจังหวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนักท่องเที่ยวสามารถขับรถมาเองและเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว ในทุกๆวัดที่คณะของเราได้มีโอกาสเดินทางเข้าไปกราบไหว้ทำบุญเยี่ยมชมทุกๆวัดมีเรื่องราวความเป็นมามากมายให้เราต้องติดตามโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสายมู บอกได้เลยว่าต้องติดตามรอยคณะท่องเที่ยวสายมูของเราและห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ
เรื่องและภาพโดย...สุเทพ พวงมะโหด





ไม่มีความคิดเห็น