Breaking News

หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ” ระดับประเทศ ชิงโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อยอดศิลปะวัฒนธรรม ใกล้ชิดพระพุทธศน. ชิงชนะเลิศ ประกวด “สวดมนต์

 



นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศีลธรรม วัดชัยชนะสงคราม จัดการประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ประเภททีม ๕ คน ณ วัดชัยชนะสงคราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าประกวดในระดับประเทศ เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างความสามัคคีธรรม ขันติธรรม ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนได้เข้าถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ผ่านกระบวนการประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ  โดยการประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ มีการดำเนินการคัดเลือกตัวแทนระดับจังหวัด เพื่อเข้าประกวดระดับภาคคณะสงฆ์ จากนั้นมีการคัดเลือกตัวแทนระดับภาคคณะสงฆ์และตัวแทนระดับส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) เพื่อเข้าประกวดระดับประเทศ โดยแบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษา ประเภททีมหญิงล้วน จำนวน 57 ทีม ระดับมัธยมศึกษา/ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) ประเภททีมหญิงล้วน จำนวน 57 ทีม ระดับประถมศึกษา ประเภททีมชายล้วน จำนวน 57 ทีม และระดับมัธยมศึกษา/ระดับอาชีวศึกษา (ปวช.) ประเภททีมชายล้วน จำนวน 57 ทีม มีทีมที่ได้เป็นตัวแทนระดับภาคคณะสงฆ์เข้าประกวดระดับประเทศ ทั้งสิ้น ๒๒๘ ทีม และบทสวดที่ใช้ในการประกวดนั้น ประกอบด้วย บทนมัสการพระรัตนตรัย (อะระหังฯ) บทสวดนมัสการ (นะโมฯ) บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาบาลี (อิติปิโสฯ) บทสวดพระพุทธคุณ ภาษาไทย (องค์ใดพระสัมพุทธ) บทสวดพระธรรมคุณ ภาษาบาลี (สวากขาโตฯ) บทสวดพระธรรมคุณ ภาษาไทย (ธัมมะคือคุณากรฯ) บทสวดพระสังฆคุณ ภาษาบาลี (สุปะฏิปันโนฯ) บทสวดพระสังฆคุณ ภาษาไทย (สงฆ์ใดสาวกศาสดา) 



บทสวดชยสิทธิคาถา ภาษาบาลี (พาหุง) บทสวดชยสิทธิคาถา ภาษาไทย (ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุทธฯ) ซึ่งทีมที่เข้าประกวดต้องมีการสวดที่มีความถูกต้องของอักขระ จังหวะ ทำนอง ความไพเราะของน้ำเสียง  มารยาทและท่าทาง และความพร้อมเพรียง 



สำหรับผลการประกวดสวดมนต์หมู่ฯ ทำนองสรภัญญะ ประเภททีม 5 คน รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ วัดชัยชนะสงคราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่า การประกวดในระดับประถมศึกษา ประเภททีมชายล้วน สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร) กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศิลาภิรัตอุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร รองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ โรงเรียนบ้านกระสังสามัคคี จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับประถมศึกษา ประเภททีมหญิงล้วน สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) จังหวัดราชบุรี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนธรรมจารินีวิทยา จังหวัดราชบุรี รองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ โรงเรียนห้วยเสียด จังหวัดกระบี่ และระดับมัธยมศึกษา ประเภททีมชายล้วน สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเมตตาวิทยา จังหวัดเพชรบูรณ์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนลำปางกัลยาณี จังหวัดลำปาง รองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ โรงเรียนบ้านเข็ก จังหวัดพิษณุโลก ระดับมัธยมศึกษา ประเภททีมหญิงล้วน สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 2  ได้แก่ โรงเรียนธรรมจารินีวิทยา จังหวัดราชบุรี โดยผู้ชนะการประกวดสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะในระดับประเทศ จะได้รับพระราชทานโล่รางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ สามารถดูผลการประกวด “สวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ” ปี 2567 ทั้งหมดได้ที่เว็ปไซต์กรมการศาสนา www.dra.go.th



อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการศาสนา มุ่งเน้นส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกระดับจัดกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะในรูปแบบที่ถูกต้อง ซึ่งการสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ 


เป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งของศาสนพิธีในพระพุทธศาสนา โดยเป็นการสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพระรัตนตรัย ที่มีท่วงทำนองไพเราะเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้สวดและผู้ฟังเกิดปิติ เบิกบานใจ เข้าใจถึงหลักพระรัตนตรัยมากขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเป็นคนดี คนเก่ง มีวินัย และเป็นการอนุรักษ์ พัฒนาต่อยอดศิลปะวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งการสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรู้สึกได้ใกล้ชิดพระรัตนตรัยซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคมชาวพุทธในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น