ยูโอบี ประเทศไทย คว้ารางวัลชนะเลิศธนาคารต้นแบบจัดการขยะอย่างยั่งยืนจากโครงการคัดแยกขยะครบวงจร โดยกรุงเทพมหานคร
(บรรยายใต้ภาพ) ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย โดยมร เชา วง ยวน Chief Sustainability Officer (ตรงกลาง) และ นายวิทวัต เพชรกระจายแสง Head of Corporate Real Estate Services (ซ้าย) เป็นตัวแทนธนาคารรับมอบรางวัลจากนายสมบูรณ์ หอมนาน รองปลัดกรุงเทพมหานคร (ขวา) ในพิธีมอบรางวัลต้นแบบการจัดการขยะครบวงจร
กรุงเทพ, 9 ตุลาคม 2567 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดองค์กรต้นแบบ การจัดการขยะครบวงจรประเภทกลุ่มธนาคาร จัดโดยสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (BMA) สะท้อนความเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยแผนดำเนินการต่างๆ ในการบริหารจัดการขยะของยูโอบี ประเทศไทยภายใต้โครงการ UOB Waste to Wonder ที่ส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความตระหนักรู้ให้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องการบริโภค อย่างรับผิดชอบทำให้ยูโอบี ประเทศไทย เป็นเพียงธนาคารเดียวในปีนี้ที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกตามวิถี “องค์กรไร้ขยะ” (Zero-Waste Organisation) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ BKK Zero Waste ของกรุงเทพมหานคร ที่มุ่งเน้นการลดขยะ ตั้งแต่ต้นทางและส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
มร เชา วง ยวน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “รางวัลนี้สะท้อนความจริงที่สำคัญว่าทุกการลงมือทำไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การบริหารจัดการขยะของธนาคารเรานั้นเป็นความร่วมมือทั่วทั้งองค์กร ซึ่งไม่เพียงแต่จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ยังมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนภายในยูโอบี เราได้ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะและการแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งการนำแนวปฏิบัติเหล่านี้มาใช้ ไม่เพียงแต่เราสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเราเอง แต่นับเป็นการสนับสนุนเป้าหมายของกรุงเทพมหานครในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ความพยายามนี้แสดงให้เห็นว่าภาคการเงินสามารถเป็นตัวเร่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรของเราและขยายไปสู่ชมชนได้”
โครงการประกวดต้นแบบการจัดการขยะครบวงจรมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมความร่วมมือใน การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางแหล่งกำเนิดให้มีประสิทธิภาพพร้อมสนับสนุนการแลกเปลียนเรียนรู้แนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตในชุมชนหรือองค์กรแหล่งกำเนิดขยะถึง 18 แหล่งกำเนิด โดยต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกต้องผ่านเกณฑ์ประเมินการจัดการขยะตามวิถี “องค์กรไร้ขยะ” (Zero-Waste Organisation) ประกอบด้วยการกำหนดนโยบาย มาตรการหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงาน มาตรการส่งเสริมการลดขยะและคัดแยกขยะที่ต้นทาง แนวทางการสื่อสารสร้างความร่วมมือและรณรงค์ และการบริหารจัดการขยะแต่ละประเภท
รางวัลนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูโอบีในการผสานเรื่องความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนในการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อลูกค้า พนักงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
โครงการประกวดต้นแบบการจัดการขยะครบวงจรมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมความร่วมมือใน การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางแหล่งกำเนิดให้มีประสิทธิภาพพร้อมสนับสนุนการแลกเปลียนเรียนรู้แนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตในชุมชนหรือองค์กรแหล่งกำเนิดขยะถึง 18 แหล่งกำเนิด โดยต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกต้องผ่านเกณฑ์ประเมินการจัดการขยะตามวิถี “องค์กรไร้ขยะ” (Zero-Waste Organisation) ประกอบด้วยการกำหนดนโยบาย มาตรการหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงาน มาตรการส่งเสริมการลดขยะและคัดแยกขยะที่ต้นทาง แนวทางการสื่อสารสร้างความร่วมมือและรณรงค์ และการบริหารจัดการขยะแต่ละประเภท
รางวัลนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูโอบีในการผสานเรื่องความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนในการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อลูกค้า พนักงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
ไม่มีความคิดเห็น