ยูโอบีเสริมพลังคนรุ่นใหม่ด้วยความรู้ด้านความยั่งยืน ผ่านโครงการ Better U Next Future
กล่าวกันว่า บทเรียนที่ดีที่สุดมักมาจากประสบการณ์ชีวิตมากกว่าการเรียนในห้องเรียน และด้วยหลักการนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ Better U Next Future Camp ครั้งที่ 3 ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการด้านการศึกษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังทักษะชีวิตที่จำเป็นให้แก่เด็กๆ
นางสาวศศิวิมล อารยวัฒนาพงษ์ Country Function Head of Human Resources ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการนี้ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการ Better U ซึ่งเป็นหลักสูตรฝึกอบรมภายในของธนาคารที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2562 เพื่อฝึกอบรม 5 ทักษะหลักให้แก่พนักงาน ได้แก่ แนวคิดการเติบโต การแก้ปัญหา ความตระหนักรู้เรื่องดิจิทัล การออกแบบโดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และการให้ข้อมูลผ่านการเล่าเรื่อง โครงการ Better U Next Future Camp ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2565 โดยมุ่งเน้นให้เด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรียกรู้ทักษะหลักทั้ง 5 ผ่านกิจกรรมสนุกๆ เช่น Lego Education ส่วนครั้งที่ 2 เน้นเรื่องความรู้ทางการเงินและความฉลาดทางอารมณ์ ผ่านกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เช่น การฝึกสมาธิและการจำลองตลาด และครั้งที่ 3 เน้นให้ความรู้และสร้างทักษะการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน มีบุตรหลานของพนักงาน ลูกค้า และเด็กจากครอบครัวที่ด้อยโอกาส อายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปี ประมาณ 100 คนเข้าร่วม”ประโยชน์ของการสอนความยั่งยืนให้แก่เด็ก ๆ
โครงการ Better U Next Future และอีกหลากหลายโครงการไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ความสนุกสนาน แต่ยังมีความสำคัญในการช่วยรับมือกับหนึ่งในปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน นั่นก็คือ ความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป
การปลูกฝังแนวคิดเรื่องความยั่งยืนแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อโลก ความรู้ด้านความยั่งยืนไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังเกี่ยวกับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและการพัฒนาทักษะชีวิต เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการบริหารจัดการทรัพยากรตัวอย่างเช่น ในโครงการนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีติดตามผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ของตัวเองที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมผ่านอุปกรณ์ช่วยจำที่เรียกว่า “7R” ได้แก่ Rethink (คิดใหม่), Refuse (ปฏิเสธ), Reduce (ลดใช้), Repurpose (ปรับใช้ใหม่), Reuse (นำกลับมาใช้ซ้ำ), Recycle (รีไซเคิล) และ Rot (ย่อยสลาย) และเมื่อเด็กๆ เข้าใจถึงผลกระทบของ 7R พวกเขาก็จะเริ่มตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมของตนเองกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
นอกจากนี้ เด็กๆ ยังได้เรียนรู้วิธีที่จะทำให้อากาศและถนนสะอาดขึ้น ซึ่งนำไปสู่สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้น พวกเขาก็จะมีแนวโน้มในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากขึ้น ในท้ายที่สุด ความรู้ที่ได้รับในวันนี้จะมีผลต่อทั้งพฤติกรรมส่วนตัวและการกระทำในชุมชน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่มีเด็กคนไหนที่อยากนั่งเรียนในวันหยุด แม้พวกเขาจะรู้ว่าทำเพื่ออนาคตที่ดีก็ตาม โครงการ Better U Next Future จึงจัดกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กๆ ได้ลงมือทำจริง ตั้งแต่การเรียนรู้การคัดแยกวัสดุเป็นหมวดหมู่ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลายได้ และขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งได้ทดลองทำการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนขวดพลาสติกให้เป็นกระถางต้นไม้ ซึ่งผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
วิธีที่ผู้ปกครองและโรงเรียนสามารถนำความรู้เรื่องความยั่งยืนไปสอนได้จริง
การมีส่วนร่วมของครอบครัวเป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงการนี้ การเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ ทำให้ผู้ปกครองได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับความยั่งยืนและวิธีการนำแนวทางรักษ์โลกไปปรับใช้ที่บ้านได้จริง หลายครอบครัวกล่าวว่าความกระตือรือร้นของลูกๆ เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
ผู้ปกครองท่านหนึ่งเล่าว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการพูดคุยเกี่ยวกับการลดขยะและการประหยัดพลังงานในบ้าน อีกท่านหนึ่งกล่าวว่า ลูกของตนกระตือรือร้นในการคัดแยกขยะและสอนผู้อื่นเกี่ยวกับการรีไซเคิลหลังจากเข้าร่วมค่าย เรื่องราวเหล่านี้สะท้อนถึงผลกระทบที่ยั่งยืนของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีต่อทั้งเด็กและครอบครัว
การสอนเรื่องความยั่งยืนไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ทั้งผู้ปกครองและโรงเรียนต่างมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังนิสัยที่ยั่งยืนให้แก่เด็กๆ
● ความยั่งยืนที่บ้าน: ผู้ปกครองสามารถเริ่มจากการนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนง่ายๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การรีไซเคิล การปิดไฟ การลดการใช้พลาสติก และการประหยัดน้ำ จะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมที่ยั่งยืน การส่งเสริมให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการกระทำเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างนิสัยความรับผิดชอบและแสดงให้เห็นว่าการกระทำไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้
● ความยั่งยืนในโรงเรียน: โรงเรียนสามารถส่งเสริมการศึกษาเรื่องความยั่งยืนในหลักสูตรการเรียนการสอนได้ หรือจัดกิจกรรมหรือชมรมที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อม การนำความรู้เรื่องความยั่งยืนมาผสมผสานในวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา จะช่วยปลูกฝังความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วัยเด็ก นอกจากนี้ โครงการต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น การทำความสะอาดชุมชนหรือกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนกลายเป็นผู้สนับสนุนสิ่งแวดล้อมในอนาคต
● การให้เด็กมีส่วนร่วมในโครงการความยั่งยืนที่สนุกสนาน: กิจกรรมเชิงโต้ตอบเกี่ยวกับความยั่งยืนเป็นวิธีที่ดีในการให้เด็กทั้งเรียนรู้และสนุกไปพร้อมกัน โครงการต่างๆ เช่น การอัปไซเคิลของเก่าให้กลายเป็นของใหม่ หรือการปลูกต้นไม้ในภาชนะรีไซเคิล ช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการลดขยะ การได้ลงมือทำเองยังช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและสอนให้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนในชีวิตจริง
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเชื่อว่าการสอนเรื่องความยั่งยืนควรเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก
เพราะอนาคตขึ้นอยู่กับการกระทำของเราในวันนี้ การสอนเด็กๆ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนจึงเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ความรู้ ทักษะ และค่านิยมที่เด็กๆ ได้รับในวันนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการตัดสินใจในอนาคต ทั้งในฐานะผู้นำ สมาชิกในชุมชน และพลเมืองโลก
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เชื่อในการเป็นผู้นำด้วยการลงมือทำ และได้นำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมาใช้ในทุกกิจกรรม ทั้งในที่ทำงาน การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการมีส่วนร่วมในชุมชน เรามุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าและยั่งยืนยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เราจัดให้มีถังขยะรีไซเคิลทั่วสำนักงานเพื่อเก็บวัสดุเพื่อการรีไซเคิล การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ และการทำปุ๋ยหมัก เราส่งเสริมให้พนักงานนำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนเหล่านี้ไปใช้ที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผลกระทบขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้น โครงการต่างๆ เช่น Better U Next Future ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการเสริมพลังให้เด็กๆ และครอบครัวได้เปิดรับแนวคิดการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน
ความยั่งยืนไม่ใช่แค่เป้าหมายขององค์กร แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เราขอเชิญชวนผู้ปกครอง นักการศึกษา และบริษัทต่างๆ มาร่วมกันปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน และสร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ร่วมกันสานอนาคตของโลกใบนี้ ผ่านพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรือโครงการในชุมชน ทุกการกระทำ แม้จะเล็กน้อยเพียงใด ก็สามารถสร้างความหมายได้เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น