PMAC 2025: สสส. ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย ยกระดับสุขภาวะทางปัญญา รับมือวิกฤตโลก ภัยเงียบจากความเหงา-โดดเดี่ยว เทียบเท่าสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน ดื่มเหล้า 6 แก้ว ชู AI นวัตกรรมสู่สุขภาวะยุคใหม่ บริหารความเครียด-บำบัดจิตใจ ลดช่องว่างการเข้าถึงบริการ แต่ไม่ละเลยความเป็นมนุษย์
ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา ภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์สุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และ 7 องค์กร คือ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPF) ธนาคารจิตอาสา IDG Oneness Thailand สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดประชุม Complete Well-being in the Age of AI: The Crucial Role of Spiritual Health and Practical Strategies ความเป็นอยู่ที่ดีอย่างสมบูรณ์ในยุคของ AI: บทบาทสำคัญของสุขภาวะทางปัญญา และกลยุทธ์การปฏิบัติ ภายใต้การประชุม Prince Mahidol Award Conference (PMAC) 2025 การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนใช้เวลาอยู่กับ โลกโซเชียลและสื่อออนไลน์ มากขึ้น แต่กลับ สื่อสารกับครอบครัวและคนรอบข้างน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาทางใจ เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว และการขาดความเชื่อมโยงทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะโดยตรงงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ทางสังคมกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดย J. Holt-Lunstad และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสาร PLOS Medicine ระบุว่า อันตรายจากความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน หรือการดื่มแอลกอฮอล์วันละ 6 แก้ว นอกจากนี้ ภาวะขาดการสัมพันธ์เชื่อมโยง (Lack of Social Connection) อาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเสพติดสุราและบุหรี่ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรควิตกกังวล ซึมเศร้า และสมองเสื่อม การเผชิญกับ วิกฤตความเหงาและความโดดเดี่ยว กลายเป็นความท้าทายสำคัญของยุคปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางรับมือและพัฒนางานสุขภาวะทางปัญญาให้แก่สังคม“ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของ สสส.
น.ส. อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรม (International Women’s Partnership for Peace and Justice) กล่าวว่า สุขภาวะทางปัญญาคือพลังขับเคลื่อนความยุติธรรมทางสังคมและการลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สุขภาวะทางปัญญาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่ยังเป็น เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะในบริบทของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ การค้นพบสันติสุขในจิตใจและความเมตตาผ่านการฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ฉันมีพลังใจต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ในฐานะนักเคลื่อนไหวที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ฉันได้พัฒนากระบวนการที่ผสมผสานแนวคิด สตรีนิยมและจิตวิญญาณ โดยให้ความสำคัญกับ การฟังอย่างลึกซึ้ง การเยียวยาจากภายใน และการสร้างพลังให้กับผู้หญิงในชุมชนที่เผชิญความยากลำบาก สุขภาวะทางปัญญาจึงเป็น หัวใจสำคัญของการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่เพียงช่วยให้เราตระหนักถึง ความทุกข์และการสูญเสีย แต่ยังช่วยสร้างพลังใจในการก้าวไปข้างหน้าเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีสติและยั่งยืน
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น