Breaking News

“สุดาวรรณ” ปลื้ม ครม.รับทราบผลสำเร็จ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (AMCA) ครั้งที่ 11 ช่วยสร้างโอกาสประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนและแสวงหาแนวทางการใช้กลไกทางวัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อเสริมสร้างเอกภาพบนความหลากหลาย ของภูมิภาคอาเซียน และประเทศคู่เจรจา

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 5/2568 ว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (AMCA) ครั้งที่ 11 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองมะละกา มาเลเชีย เมื่อช่วงปลายปี 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งการประประชุมดังกล่าว มี YB Dato Sri Tiong King Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมแห่งมาเลเซีย เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ เลขาธิการอาเซียน และผู้แทนจากประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงผู้แทนจากติมอร์-เลสเต ในฐานะผู้สังเกตการณ์ 


นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว ตนได้นำเสนอวิสัยทัศน์ผ่านแนวคิด “4 นโยบาย 3 แนวทาง 2 รูปแบบ และ 1 เป้าหมาย” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเศรษฐกิจวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมในประเทศไทยแล้ว ยังมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียนในวงกว้าง นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมทั้งหัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมการประชุมฯ “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย” ซึ่งเน้นย้ำบทบาทสำคัญของวัฒนธรรมและศิลปะในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมเพื่อส่งเสริมเอกภาพของอาเซียน การส่งต่อวาระการดำรงตำแหน่งประธานรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแก่มาเลเซีย การนำเสนอแนวคิดการดำรงตำแหน่งประธานรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะของมาเลเซีย รวมทั้งระบุถึงความร่วมมือที่สำคัญ อาทิ 1) ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ในฐานะทรัพยากรสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาอาเซียน 2) การส่งต่อการเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมอาเซียนจากนครหลวงเวียงจันทน์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปยังเมืองมะละกาแห่งมาเลเซีย 3) การเน้นย้ำถึงความสำคัญของปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4) ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน (พ.ศ. 2559 - 2568) และการพัฒนาแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ 5) การประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ร่วมกับคณะผู้แทนถาวรสหราชอาณาจักรประจำอาเซียนและผู้แทนบริติช เคานซิล และสถาบันส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานระหว่างอาเซียนและสหราชอาณาจักรเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโอกาสในการสร้างความเติบโตของภาควัฒนธรรมและสร้างสรรค์ในภูมิภาค 6) ความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาภายใต้แผนงานอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักร และอิตาลี และ 7) ความคืบหน้าในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน


ใน“การประชุมดังกล่าว ถือเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน จึงเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ทั้งกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา รวมทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยน ติดตามแนวโน้มและพัฒนาการของภูมิภาค เพื่อแสวงหาความร่วมมือผ่านการใช้กลไกและเครื่องมือทางวัฒนธรรมและศิลปะเสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคงให้แก่อาเซียน อีกทั้ง การรับรองถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย *(ทำตัวหนาแทน) นั้น 

ถือเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในหลายมิติ ทั้งในด้านการต่างประเทศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น