Breaking News

เส้นทางท่องเที่ยว One day trip เสน่ห์ใกล้กรุง@ ปทุมธานี

 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดพิธีเปิดตัวกิจกรรม PressTour & FamTrip ครั้งที่1ชื่อว่า “เสน่ห์ใกล้กรุง@ ปทุมธานี"ขึ้นที่บริเวณศาลาริมน้ำวัดโบสถ์ อำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานีโดยมีนายสมคิด จันทมฤก ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเดินทางมาเป็นประธานกล่าวเปิดงานและมี นางสาวแสงจันทร์ แก้วประทุมรัศมี ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานีเป็นผู้กล่าวรายงานเนื้อหาสาระของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลให้เป็นที่แพร่หลาย



นายสมคิด จันทมฤก ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
นางสาวแสงจันทร์ แก้วประทุมรัศมี ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี

หลังจากนั้นท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานีได้นำคณะสื่อมวลชนและคณะผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางเที่ยวชมวัดวาอารามและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดปทุมธานีอาทิเช่น

1.วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีความสำคัญในท้องถิ่น เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน วัดโบสถ์นี้มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากวัดอื่นๆในแถบนี้ ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์ของวัดโบสถ์ วัดโบสถ์ก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีอายุยาวนานกว่าหลายร้อยปี มีความเชื่อว่าพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนสำหรับการประกอบพิธีทางศาสนาและเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนธรรมะของพระภิกษุสามเณร ตลอดจนเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและการทำบุญตามประเพณีต่าง ๆอีกด้วย

สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจ

1. **โบสถ์เก่าแก่**: โบสถ์ของวัดนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม ผสมผสานกับศิลปะการตกแต่งที่งดงาม ลวดลายปูนปั้นและภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์สะท้อนถึงฝีมือช่างในสมัยโบราณและประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน

2. **วิหารและศาลา**: วิหารหลักเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ศาลาต่าง ๆ ในวัดใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การสวดมนต์ ทำบุญ และการฟังธรรม
3. **เจดีย์และพระปรางค์**: วัดโบสถ์มีเจดีย์และพระปรางค์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ระลึกถึงบรรพบุรุษที่สำคัญของชุมชน
4. **บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์**: บ่อน้ำที่วัดเชื่อกันว่ามีพลังศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านมักมาขอน้ำจากบ่อนี้ไปใช้ในพิธีกรรมและการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลบรรยากาศและกิจกรรมในวัด
วัดโบสถ์เป็นสถานที่ที่สงบเงียบและเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมและการนั่งสมาธิ มีลานธรรมที่กว้างขวางและร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนสามารถเข้ามาสัมผัสบรรยากาศที่สงบและได้รับความสงบสุขทางจิตใจ

วัดโบสถ์จึงเป็นสถานที่ที่ไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางของศาสนาและการปฏิบัติธรรม แต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญในอำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย

2.วัดมะขาม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านมะขาม ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อยู่ใกล้กับวัดศาลเจ้า วัดมะขามสร้างประมาณ พ.ศ. 2170 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย สันนิษฐานว่าสถานที่สร้างน่าจะมีต้นมะขามอยู่มาก บ้างก็่ว่าเป็นชื่อบ้านเดิมมาจากเมืองมอญ จึงได้ชื่อว่า "วัดมะขาม" ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากแม่น้ำที่ขุดลัดผ่านมีขนาดกว้างขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมตื้นเขิน จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่หันหน้าสู่แม่น้ำสายใหม่ ทำให้มีวัดมะขามสองวัด เรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะขามนอก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดมะขามเหนือ ส่วนวัดมะขามเดิมเรียกว่า วัดมะขามใน[1] ต่อมาในสมัยพระครูปทุมสารธรรม (วงศ์) วัดมะขามในซึ่งเป็นวัดเดิมได้ร้างลง และชำรุดผุพังเกินกำลังที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ได้ จึงได้ยุบรวมกันเป็นวัดเดียวและตัดคำว่า "เหนือ" ออกไป เป็น "วัดมะขาม" ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 อนึ่งยังมีวัดมะขามอีกแห่ง คือ "วัดมะขามใต้" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนนามวัดมาเป็นวัดชินวรารามวรวิหาร




โบสถ์วัดสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีฐานแท่นท้องสำเภา หน้าบันไม้แกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ บานประตูหน้าต่างลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปทวารบาล ด้านหลังของวัดมีวังมัจฉาเพื่อให้ทำบุญให้อาหารปลาอีกด้วย

3.วัดเจดีย์หอย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ในตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว วัดนี้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดของผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยเจดีย์ที่สร้างจากเปลือกหอยนางรมนับล้านชิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากและเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว

 ประวัติวัดเจดีย์หอย
วัดเจดีย์หอยก่อตั้งขึ้นโดยพระครูวิสุทธิธรรมภาณี (หลวงพ่อทองกลึง) เมื่อปี พ.ศ. 2521 วัดนี้ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่ในการสร้างและพัฒนา โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมเปลือกหอยซึ่งพบมากในบริเวณนั้นมาใช้ในการก่อสร้างเจดีย์และอาคารต่างๆ

พระครูวิสุทธิธรรมภาณี (หลวงพ่อทองกลึง)เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หอย


สิ่งที่น่าสนใจ
เจดีย์หอย: เจดีย์ที่สร้างจากเปลือกหอยมีความสูงประมาณ 8 เมตร ซึ่งใช้เปลือกหอยในการก่อสร้างทั้งหมด เป็นสิ่งที่หาชมได้ยากและสวยงาม
พิพิธภัณฑ์: ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติของวัดและวัตถุโบราณต่างๆ ที่พบในพื้นที่
ศาลเจ้าแม่ทับทิม: เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านมักมาขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลบริเวณวัด: มีบรรยากาศร่มรื่นและเงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนและทำบุญเป็นอย่างยิ่ปิ่นฟ้าฟาร์ม ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว ประยุกต์ธุรกิจเกษตรเชิงท่องเที่ยวแบบผสมผสาน

ปิ่นฟ้าฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ทำให้บางครั้งถูกเรียกว่า “ปิ่นฟ้าฟาร์ม ปทุมธานี” ภายในฟาร์มถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนของกิจกรรม บ่อน้ำ และส่วนของร้านอาหาร รองรับการท่องเที่ยวแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปัจจุบันได้รับความสนใจค่อนข้างมาก อีกทั้งยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ทำให้สามารถเดินทางได้ง่าย ไปได้ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ต้องรอวันหยุดยาว

คุณนพดล ลัดดาแย้ม หรือคุณตุ้ยเจ้าของปิ่นฟ้าฟาร์ม


ภายในปิ่นฟ้าฟาร์มมีการเลี้ยงสัตว์หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เป็ด ไก่ กระต่าย นกสวยงาม ปลา เป็นต้น โดยฟาร์มแห่งนี้มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีเพื่อนำไปปรับใช้ และได้มีโอกาสศึกษาการสร้างรายได้จากภาคเกษตรอย่างแท้จริง ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวลาดหลุมแก้วอีกด้วย กิจกรรมภายในฟาร์ม มีทั้งมุมให้อาหารปลา และมุมสไลเดอร์โคลนธรรมชาติ เพื่อความเพลิดเพลินและสนุกสนาน เหมาะสมกับบรรยากาศของการพักผ่อน และนอกจากนี้ในส่วนของมุมร้านอาหาร ซึ่งได้รับความสนใจมากที่สุด ยังมีหลากหลายเมนูพร้อมให้บริการ อาทิ ข้าวแช่ ,ข้าวเหนียวไก่ย่าง,ส้มตำและกาแฟสดและไม่เพียงเท่านั้นยังมีการจำหน่ายสินค้าเกษตร ผักปลอดสารพิษ และสินค้าชุมชนอีกมากมายเตรียมไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในราคาย่อมเยาว์



ปิ่นฟ้าฟาร์ม สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในสไตล์ธรรมชาติกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงเวลานี้ ทำให้สถานที่แห่งนี้ถูกยกให้เป็นเอสเอ็มอีตัวอย่างอีกหนึ่งแห่ง ที่มีการประยุกต์พื้นที่และตกแต่งสวยงาม รองรับการท่องเที่ยวที่ลงตัว และปัจจุบันก็กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก จากกระแสตอบรับที่ดียิ่ง


ในส่วนของรายละเอียดปิ่นฟ้าฟาร์ม เปิดตั้งแต่เวลา 08:30 น. - 17:00 น.หยุดทุกวันวันพุธ พร้อมบริการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม ชมสัตว์เลี้ยงต่างๆ รับประทานอาหาร พักผ่อนด้วยกิจกรรมภายในฟาร์ม เหมาะมากสำหรับกลุ่มคนที่เดินทางมาเป็นครอบครัว

ตลาดระแหง 100 ปี เป็นตลาดชุมชนริมน้ำ ตั้งอยู่ที่ชายคลองระแหงติดต่อคลองพระอุดม ในตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ตลอดทั้งสองฝั่งคลองเป็นห้องแถวไม้ติดต่อกันยาวตลอดทาง ซึ่งทางอำเภอลาดหลุมแก้ว เทศบาลตำบลระแหงและชาวตลาดระแหง ได้ร่วมกันอนุรักษ์ตลาดเก่าแห่งนี้เอาไว้ บริเวณชุมชนนี้มีศาสนสถานคือ วัดบัวแก้วเกษรและศาลจ้าวระแหง[1] ในตลาดมีร้านขายอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ ร้านขายยาจีนและยาแผนโบราณ ร้านตัดผมรุ่นคุณปู่ ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร เครื่องใช้ในครัวเรือน ปุ๋ยหมัก หม้อดินเผาหุงข้าว หรือร้านอาหารขึ้นชื่อ อย่างร้านแปโภชนา และพิพิธภัณฑ์แสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ

ประวัติตลาดระแหง 100 ปี คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตลาดระแหง คือกลุ่มคนจีนซึ่งเข้ามาทำการค้าขาย ดังปรากฏในแผนที่โบราณ พ.ศ. 2460 พบตำแหน่งของที่ตั้งตลาดระแหงแล้ว โดยบริเวณโดยรอบมีการกระจุกตัวของชุมชนและมีลักษณะพื้นที่นา ชาวจีนเหล่านี้บางส่วนแต่งงานกับคนไทย พบศาลเจ้าบริเวณตลาด ตลาดตั้งอยู่ริมคลองระแหง เป็นแหล่งขนสินค้าการเกษตร ตลาดระแหงเริ่มเป็นที่รู้จักจากคนภายนอก มีเรือแท็กซีสัญจรระหว่างกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี เพื่อซื้อขายสินค้าการเกษตรจำพวกข้าวและผลไม้ มีโรงสีข้าวตั้งอยู่ท้ายตลาด

ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทางรถไฟราษฎร์สายบางบัวทอง มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพ บางบัวทองมาสิ้นสุดบริเวณริมคลองระแหงนี้ ส่งผลทำให้มีคนมาใช้บริการตลาดระแหงมากขึ้น มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยและทำการค้าขายเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว มีร้านค้าที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ร้านขายเครื่องมือการประมง เครื่องมือการเกษตร โรงฝิ่น ร้านอาหารสำเร็จรูป และร้านกาแฟ เป็นต้น อาคารบางส่วนเริ่มปรับเป็น 2 ชั้น มุงสังกะสี แต่เมื่อมีการตัดถนน เกิดระบบขนส่งมวชนสาธารณะ การสัญจรทางน้ำจึงเริ่มลดบทบาทลง การค้าเริ่มซบเซา ทำให้คนเริ่มย้ายมาตั้งร้านริมถนนสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346[ปัจจุบันตลาดระแหงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ขอบขอบคุณ
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี







ไม่มีความคิดเห็น